Japanese battleship Kongo 金剛 (戦艦) 1937


Japanese battleship Kongo

เรือประจัญบานคองโกว ได้รับการตั้งชื่อตามชื่อของภูเขา ที่เดิมนั้นเคยเป็นเรือลาดตระเวนประจัญบานในชุดคองโกวเเห่งกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นที่ถูกสร้างขึ้นในช่วงก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ที่ได้รับการออกแบบโดยสถาปนิกชาวอังกฤษที่ชื่อ จอร์จ เทอร์สตัน ที่ถือว่า คองโกวเป็นเรือหลวงลำสุดท้ายของญี่ปุ่นที่ถูกต่อขึ้นภายนอกประเทศโดยอู่ต่อเรือวิคเกอร์สของอังกฤษ โดย คองโกวได้เริ่มวางกระดูกงูในวันที่ 17 มกราคม ค.ศ.1911 ปล่อยเรือลงน้ำในวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ.1912 เเละถูกสร้างเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ.1913 ส่วนอีกสามลำที่เหลือคือ ฮิเอย์ คิริชิมะ เเละฮารูนะ ได้ถูกต่อขึ้นภายในประเทศญี่ปุ่นตามลำดับ

โดย คองโกวได้เริ่มภารกิจเเรกด้วยการออกลาดตระเวนตามเเนวชายฝั่งของจีนในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่1 จนกระทั่งปีค.ศ.1929 คองโกวก็ได้รับการปรับปรุงใหม่ในด้านของเกราะเเละสมรรถนะของเครื่องยนต์จนถูกยกระดับขึ้นมาเป็นเรือประจัญบาน ซึ่งภายหลังจากญี่ปุ่นได้ถอนตัวออกจากจากสนธิสัญญารัฐนาวีกรุงลอนดอน คองโกวก็ได้รับการปรับปรุงขนานใหญ่เป็นครั้งที่สองทั้งในด้านของเครื่องยนต์เเละในส่วนของสะพานเดินเรือที่ได้การต่อเติมให้เป็นเเบบสถาปัตยกรรมเเบบหอเจดีย์จีนรวมถึงการติดตั้งเเท่นดีดเครื่องบินหลังป้อมปืนที่สามในช่วงของปีค.ศ.1935 ที่ส่งผลให้ คองโกวมีความเร็วสูงสุดไม่น้อยกว่า 30 นอต จึงถูกยกระดับขึ้นมาเป็นเรือประจัญบานเคลื่อนที่เร็ว โดยที่ในช่วงระหว่างสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง คองโกว ก็ได้ออกปฏิบัติการตามเเนวชายฝั่งของจีนเเผ่นดินใหญ่ ก่อนที่จะเข้าร่วมในกองเรือที่3 ในปีค.ศ.1941 เเละได้เดินทางไปเข้าร่วมกับเเนวรบทางใต้เพื่อเตรียมเข้าโจมตีสิงคโปร์ในปีค.ศ.1942

เรือประจัญบานในชุดคองโกวนับว่าเป็นเรือหลวงของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นที่มีบทบาทมากที่สุดในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดยในช่วงของปีค.ศ.1942 คองโกวกับฮารูนะ ก็ได้เข้าร่วมสนับสนุนในการบุกโจมตีเเละการยกพลขึ้นบกที่มาเลเซียเเละสิงคโปร์ ในเวลาต่อมาเรือประจัญบานในชุดคองโกวก็ได้ร่วมกันทำหน้าที่คุ้มกันกองเรือบรรทุกเครื่องบินที่เข้าโจมตีหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์ เเละได้ร่วมกันอีกครั้งในยุทธนาวี่ที่มิดเวย์และที่กวาดัลคะแนล เเละในวันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ.1942 คองโกวกับฮารูนะก็ได้ร่วมกันระดมยิงเข้าใส่ฐานบินเฮนเดอร์สันบนเกาะกวาดัลคะแนล

คองโกวเเละฮารูนะได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ในปีค.ศ.1943 ด้วยการเดินทางไปมาระหว่างฐานทัพเรือในประเทศญี่ปุ่น ก่อนที่จะเข้าร่วมในยุทธนาวีครั้งสำคัญของปีค.ศ.1944 โดยที่ทางฝ่ายกองเรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐได้ระดมเข้าโจมตีตามฐานที่มั่นต่างๆของญี่ปุ่นเพื่อตัดเส้นทางในมหาสมุทรเเปซิฟิก คองโกวกับฮารูนะจึงได้ร่วมกันเข้าเผชิญหน้ากับกองเรือของสหรัฐฯในช่วงระหว่างยุทธนาวีที่อ่าวเลย์เต จนกระทั่งคองโกวได้ถูกจมลงทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของช่องเเคบใต้หวันด้วยจรวดตอร์ปิโดจำนวนสองถึงสามลูกจากเรือดำน้ำ ยูเอสเอส ซีไลอ้อน (เอสเอส-315) ในวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ.1944 ที่นับว่า คองโกว เป็นเรือประจัญบานลำเเรกเเละลำเดียวของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นเเละเป็นเรือประจัญบานลำสุดท้ายในประวัติศาสตร์ที่ถูกจมโดยเรือดำน้ำ

เป็นภาพของเรือประจัญบานคองโกว ในช่วงของปีค.ศ.1937

ขอขอบคุณภาพขาวดำต้นฉบับจาก :http://s004.radikal.ru/i206/1105/27/3eea8f803f65.jpg

 @Tao 

The sinking of German battleship Bismarck


ณ วันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ.1941 เรือประจัญบานที่มีชื่อเสียงที่สุดเเห่งกองทัพเรือเยอรมัน "บิสมาร์ค" ได้ถูกจมลงโดยราชนาวีอังกฤษภายหลังจากการสร้างวีรกรรมอันห้าวหาญด้วยการจมเรือลาดตระเวนประจัญบาน เอชเอ็มเอส ฮู้ด ลงได้เพียงเเค่ 2 วันเท่านั้น ที่ส่งผลให้ทางนายกรัฐมนตรีเเห่งสหราชอาณาจักร วินสตัน เชอร์ชิลล์ ได้ตัดสินใจออกคำสั่งให้ "จมเรือบิสมาร์ค" ลงให้ได้ในทันที เเละในระหว่างที่เรือประจัญบานบิสมาร์คกำลังเดินทางกลับจากยุทธนาวีที่ช่องแคบเดนมาร์กในครั้งนี้ที่ ณ เวลา 09:02 น. นั้นเหล่าบรรดาเครื่องบินทิ้งระเบิดตอร์ปิโดเเบบ เเฟรี่ย์ ซอร์ดฟิช จากเรือบรรทุกเครื่องบิน เอชเอ็มเอส อาร์ครอยัล (91) ของราชนาวีอังกฤษก็ได้ระดมยิงตอร์ปิโดจำนวนมากเข้าใส่เรือประจัญบานบิสมาร์ค ที่ส่งผลให้หางเสือของเรือประจัญบานบิสมาร์คเสียการควบคุม ที่ในเวลาต่อมาเรือรบทั้ง 4 ลำของราชนาวีอังกฤษคือ เรือประจัญบาน เอชเอ็มเอส ร็อดนี่ย์ (29) เรือประจัญบาน เอชเอ็มเอส คิงจอร์จที่5 (41) เรือลาดตระเวนหนัก เอชเอ็มเอส นอร์ฟอล์ค (78) เเละเรือลาดตระเวนหนัก เอชเอ็มเอส ดอร์เซตไชร์ (40) ได้ร่วมกันระดมยิงเข้าใส่เรือประจัญบานบิสมาร์ค จนเรือได้รับความเสียหายอย่างหนัก จนกระทั่งในที่สุด ณ เวลา 10:39 น. เรือประจัญบานบิสมาร์คก็ได้อับปางลง พร้อมกับนำพาชีวิตของลูกเรืออีกกว่า 2,200 ชีวิตจมลงสู่ก้นมหาสมุทร เเละมีลูกเรือเพียง 110 นายเท่านั้นที่รอดชีวิต โดยที่ซากของเรือประจัญบานบิสมาร์คนั้นก็ยังคงหลับไหลอยู่ทีใต้มหาสมุทรแอตแลนติกตราบมาจนถึงทุกวันนี้
ขอขอบคุณภาพขาวดำต้นฉบับจาก : https://i1.wp.com/…/wp/wp-cont…/uploads/2010/11/Bismarck.png
 @Tao 

Royal Thai Navy Naval Review 1954


ภาพในพิธีการสวนสนามทางเรือตามเเบบสากลเป็นครั้งเเรกของราชนาวีไทย เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ.1954 ณ บริเวณหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี โดยการสวนสนามทางเรือในครั้งนี้ได้จัดเป็นกองเรือฝึกที่ประกอบด้วยเรือหลวง ที่มีจำนวนถึง 45 ลำ โดยมีจอมพลเรือ หลวงยุทธศาสตร์โกศล (ประยูร ยุทธศาสตร์โกศล) ขณะที่มียศเป็น พลเรือเอก ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือเป็นผู้บังคับกองเรือฝึกและมี พลเรือเอก หลวงชำนาญ อรรถยุทธ์ (เอื้อน กุลไกรเวส) ขณะที่มียศเป็น พลเรือโท ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ เป็นรองผู้บังคับกองเรือฝึก โดยใช้วิธีสวนสนามทางเรือด้วยการจัดกองเรือเเบ่งออกเป็น 4 หมวด เเละแบ่งกระบวนทัพเรือออกเป็น 2 แถว โดยมี ร.ล.แม่กลอง เป็นเรือตรวจพลสวนสนามโดยที่จอมพลเรือ ป.พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในขณะนั้นเป็นประธานการตรวจพล และยังมีเครื่องบินจากกองทัพอากาศบินผ่านร่วมตรวจพลด้วยในพิธีสวนสนามทางเรือครั้งนี้

ขอขอบคุณภาพขาวดำต้นฉบับจาก : https://goo.gl/UFjXw6
 @Tao 

Japanese cruiser Yura 由良 (軽巡洋艦)


Japanese cruiser Yura, 1938  in camouflage

เรือลาดตระเวนเบายูระ ในเเบบลายพราง ที่อยูในช่วงของปีค.ศ.1938
ขอขอบคุณภาพขาวดำต้นฉบับจาก : https://goo.gl/IxMQQ3
 @Tao