Rattanakosin-class gunboats


เรือหลวงชุดรัตนโกสินทร์ (Rattanakosin-class gunboats)

ซึ่งเป็นประเภทเรือปืนเบา ที่เป็นลำเเรกของเรือหลวงในชุดรัตนโกสินทร์ ส่วนลำที่สองคือเรือหลวงสุโขทัย เรือถูกต่อที่อู่ของบริษัทอาร์มสตรอง ที่เอส์วิค ในประเทศอังกฤษ โดยมีพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเจิมเรือ

เรือหลวงรัตนโกสินทร์ได้เริ่มทำการวางกระดูกงูในวันที่ 29 กันยายน ค.ศ.1924 เเละทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำในวันที่ 21 เมษายน ค.ศ.1925 ทำการขึ้นระวางประจำการในวันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ.1925 ส่วนเรือหลวงสุโขทัยได้เริ่มทำการวางกระดูกงูในปีค.ศ.1928 เเละทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำในวันที่19 พฤศจิกายน ค.ศ.1929 ทำการขึ้นระวางประจำการในช่วงเดือนธันวาคม ค.ศ.1930

เรือหลวงในชุดรัตนโกสินทร์ ได้ผ่านช่วงเหตุการณ์สำคัญๆในประวัติศาสตร์เช่น 


ในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง ค.ศ.1932 หลวงศุภชลาสัยได้รับมอบหมายจากคณะผู้ก่อการให้นำหนังสือกราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ให้ทรงเสด็จกลับมาเป็นประมุขของประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยหลวงศุภชลาสัยได้เดินทางด้วยเรือหลวงสุโขทัยไปยังพระราชวังไกลกังวลซึ่งตอนนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ทรงประทับอยู่ ซึ่งหลวงศุภชลาศัยก็ให้เรือจอดห่างจากชายฝั่งโดยสั่งให้เรือหันปืนทุกกระบอกไปยังพระราชวังไกลกังวลพร้อมที่จะระดมยิงเข้าใส่ แล้วก็มีการสั่งไว้ว่าหากไม่เห็นสัญญาณตามเวลานัดหมายให้ระดมยิงเข้าใส่พระราชวังไกลกังวลทันทีโดยไม่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของตัวหลวงศุภชลาศัยหรือผู้ใดทั้งสิ้น แล้วจึงถือหนังสือไปกับเรือบดถึงชายฝั่งทหารผู้บัญชาการฝ่ายวังที่อยู่ตรงนั้นให้ทหารจับตัวหลวงศุภชลาศัยโดยหลวงศุภชลาศัยได้ชี้แจงว่ามาในนามทูตฝ่ายคณะราษฎรเพื่อนำหนังสือทูลเกล้าถวาย โดยทหารคนดังกล่าวไม่ยอม หลวงศุภชลาศัยจึงให้ทหารคนดังกล่าวส่องกล้องเพื่อมองที่เรือที่หันปืนใหญ่มาที่วังโดยขู่ด้วยว่าไม่มีปืนที่วังกระบอกไหนที่จะสามารถยิงถึงเรือหลวงสุโขทัย ในขณะที่ปืนจากเรือสามารถยิงมาถึงที่วังนี้ได้ จึงยอมให้หลวงศุภชลาศัยเข้าเฝ้า เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ได้ทรงทอดพระเนตรลายมือของกรมพระนครสวรรค์ฯ ที่ได้ลงนามมากับหนังสือดังกล่าว จึงทรงยอมเสด็จกลับไปกับหลวงศุภชลาศัยโดยทีแรกจะให้เสด็จกลับทางเรือ แต่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ได้ปฎิเสธเเละเรียกร้องให้ทางคณะราษฎรจัดรถไฟมารับเสด็จเเทน หลวงศุภชลาศัยจึงโทรเลขกลับมาที่กรุงเทพ พระยาพหลฯ ก็มีหนังสือกลับมาว่าจะส่งรถไฟพระที่นั่งมาที่สถานีหัวหินพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7)จึงทรงยอมเสด็จกลับพระนคร


ที่รวมไปถึงช่วงกรณีพิพาทระหว่างไทย - อินโดจีนฝรั่งเศส ค.ศ.1940-1941 เเละยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์การเมืองไทยในกรณีกบฏแมนฮัตตัน ค.ศ.1951 รวมไปจนถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่สองเเละในช่วงสงครามอินโดจีน ที่นับจากวันขึ้นระวางประจำการรับใช้กองทัพเรือรวมเป็นเวลากว่า 40 ปี จนกระทั่งท้ายที่สุดเรือหลวงชุดรัตนโกสินทร์ที่ไม่ทราบว่าถูกปลดระวาง ถูกทำลาย หรือถูกขายเป็นเศษเหล็กไปในวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ.1967 เเละเรือหลวงสุโขทัย ไปในปีค.ศ.1971 ที่นับว่าเป็นเรือรบของไทยที่หาข้อมูลได้ยากมากอีกลำนึ

ลักษณะเฉพาะ
ระวางขับน้ำ: 886 ตัน เต็มที่ 1,000 ตัน
ความยาว: 53.04 เมตร
ความกว้าง: 11.3 เมตร
กินน้ำลึก: 3.28 เมตร
เครื่องยนต์: เเบบเครื่องจักรไอน้ำ 2 เครื่อง หม้อน้ำ 2 หม้อ 850 เเรงม้า 2 ใบจักร
ความเร็ว: 12 นอต
ระยะทางเชื้อเพลิง: 2,000 ไมล์ทะเลที่ความเร็ว 10 นอต
อัตราเต็มที่: 103 นาย
ยุทโธปกรณ์:
• 2 × 152 มม. 2 กระบอก (2 × 1)
• 4 × 76.2 มม. 4 กระบอก (4 × 1)
เกราะ:
• ด้านข้าง 63.5 มม.
• ดาดฟ้าเรือ 38 มม.
• ป้อมปืนหลัก 63.5 มม.
• หอบังคับการ 63.5 มม.

อ้างอิงข้อมูลจาก: http://cs.wikipedia.org/wiki/Třída_Ratanakosindra

เป็นภาพของเรือหลวงรัตนโกสินทร์ ในช่วงของปีค.ศ.1925

ภาพขาวดำต้นฉบับก่อนนำมาลงสีจาก :http://i57.fastpic.ru/big/2013/1020/0e/2b57e5abdc2db079b6e5be9f4be7fd0e.jpg

///////// @Tao /////////



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น