Kongo-class battleship (金剛型戦艦)


สี่พี่น้องของเรือประจัญบานในชั้นคงโกว (Kongo-class battleship)

ที่ประกอบไปด้วย คงโกว ฮิเอย์ คิริชิมะ เเละฮารูนะ เดิมทั้งสี่เคยเป็นเรือลาดตระเวนประจัญบานเเห่งกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นที่ถูกสร้างขึ้นในช่วงก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ที่ได้รับการออกแบบโดยสถาปนิกชาวอังกฤษที่ชื่อ จอร์จ เทอร์สตัน ที่ถือว่า คองโกวเป็นเรือหลวงลำสุดท้ายของญี่ปุ่นที่ถูกต่อขึ้นภายนอกประเทศโดยอู่ต่อเรือวิคเกอร์สของอังกฤษโดยคงโกวได้เริ่มวางกระดูกงูในวันที่ 17 มกราคม ค.ศ.1911 ปล่อยเรือลงนำ้ในวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ.1912 เเละถูกสร้างเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ.1913 ส่วนอีกสามลำที่เหลือถูกต่อขึ้นในประเทศญี่ปุ่นคือ

ฮิเอย์ ถูกต่อขึ้นที่ฐานทัพเรือโยโกสึกะ ที่ได้เริ่มวางกระดูกงูในวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ.1911 ปล่อยเรือลงน้ำในวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ.1912 เเละถูกสร้างเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ.1914
คิริชิมะ ถูกต่อขึ้นที่อู่ต่อเรือของบริษัทมิตซูบิชิในเมืองงางาซากิ ที่ได้เริ่มวางกระดูกงูในวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ.1912 ปล่อยเรือลงน้ำในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ.1913 เเละถูกสร้างเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ.1915
ฮารูนะ ถูกต่อขึ้นที่อู่ต่อเรือของบริษัทคาวาซากิในเมืองโกเบ ที่ได้เริ่มวางกระดูกงูในวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ.1912 ปล่อยเรือลงน้ำในวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ.1913 เเละถูกสร้างเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ.1915 ตามลำดับ

ในช่วงปลายทศวรรษที่1920 ทั้งสี่ลำได้รับการปรับปรุงใหม่จนถูกยกระดับขึ้นมาเป็นเรือประจัญบาน เเต่ภายหลังจากญี่ปุ่นได้ลงนามในสนธิสัญญารัฐนาวีกรุงลอนดอนในปีค.ศ.1930 ในส่วนของฮิเอย์ก็ได้เปลี่ยนสถานะมาเป็นเรือฝึกเเละเรือพระที่นั่งเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกทำลายตามเงื่อนไขของสนธิสัญญา ซึ่งในเวลาต่อมาทางญี่ปุ่นก็ได้ถอนตัวออกจากจากสนธิสัญญารัฐนาวีกรุงลอนดอน เรือประจัญบานทั้งสี่ลำก็ได้รับการปรับปรุงขนานใหญ่เป็นครั้งที่สองทั้งในด้านของเครื่องยนต์เเละในส่วนของสะพานเดินเรือที่ได้การต่อเติมให้เป็นเเบบสถาปัตยกรรมเเบบหอเจดีย์จีนรวมถึงการติดตั้งเเท่นดีดเครื่องบินหลังป้อมปืนที่สามในช่วงปลายทศวรรษที่1930 ที่ส่งผลให้เรือประจัญบานทั้งสี่ลำมีความเร็วสูงสุดไม่น้อยกว่า 30 นอต โดยทั้งสี่ลำจึงถูกยกระดับขึ้นมาเป็นเรือประจัญบานเคลื่อนที่เร็ว

เรือประจัญบานในชั้นคงโกวนับว่าเป็นเรือหลวงของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นที่มีบทบาทมากที่สุดในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ที่มีส่วนร่วมในภารกิจครั้งสำคัญๆในช่วงของสงครามดังต่อไปนี้ โดยเริ่มจากฮิเอย์กับคิริชิมะได้ทำหน้าที่เป็นเรือคุ้มกันกองเรือบรรทุกเครื่องบินในช่วงระหว่างการเข้าโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ ในขณะที่คงโกวกับฮารูนะก็ได้เข้าร่วมสนับสนุนในการบุกโจมตีที่มาเลเซียเเละสิงคโปร์ ในเวลาต่อมาทั้งสี่ลำก็ได้ทำหน้าที่คุ้มกันกองเรือบรรทุกเครื่องบินที่เข้าโจมตีหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์ เเละร่วมกันอีกครั้งในยุทธนาวี่ที่มิดเวย์และที่กวาดัลคะแนล กระทั่งฮิเอย์กับคิริชิมะที่อยู่ในระหว่างการรบในยุทธนาวี่ที่กวาดัลคะแนล ฮิเอย์ก็ถูกจมลงด้วยการโจมตีทางอากาศของสหรัฐฯในวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ.1942 เเละคิริชิมะก็จมลงภายหลังจากการเข้าประจัญบานกับ ยูเอสเอส เซาท์ดาโกต้า (บีบี-57) เเละยูเอสเอส วอชิงตัน (บีบี-56) ในวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ.1942 ในขณะที่ฮารูนะกับคงโกวได้ร่วมกันระดมยิงเข้าใส่ฐานบินเฮนเดอร์สันบนเกาะกวาดัลคะแนล ในวันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ.1942

เรือประจัญบานทั้งสองลำที่เหลืออยู่ได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ในปีค.ศ.1943 ด้วยการเดินทางไปมาระหว่างฐานทัพเรือในประเทศญี่ปุ่น ก่อนที่จะเข้าร่วมในยุทธนาวีครั้งสำคัญของปีค.ศ.1944 โดยที่คงโกวกับฮารูนะได้ร่วมกันเข้าเผชิญหน้ากับกองเรือของสหรัฐฯในช่วงระหว่างยุทธนาวีที่อ่าวเลย์เต จนกระทั่งคองโกวได้ถูกจมลงทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะใต้หวันด้วยจรวดตอร์ปิโดจำนวนสองถึงสามลูกจากเรือดำน้ำ ยูเอสเอส ซีไลอ้อน (เอสเอส-315) ในวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ.1944 เเละท้ายที่สุดฮารูนะก็มาจมลงในสภาพนั่งเเท่นด้วยการโจมตีทางอากาศจากกองเรือเฉพาะกิจที่38 ของสหรัฐฯในขณะที่เรือกำลังจอดทอดสมออยู่ที่ฐานทัพเรือคุเระในวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ.1945 เเละได้ถูกขายเป็นเศษเหล็กในปีค.ศ.1946 ที่เป็นการปิดตำนานของสี่เรือประจัญบานที่มีบทบาทมากที่สุดของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

ขอขอบคุณบทความจาก: http://en.wikipedia.org/wiki/Kongō-class_battlecruiser

เป็นภาพถ่ายร่วมกันของสี่พี่น้องเรือประจัญบานเคลื่อนที่เร็วในชั้นคงโกว ทีประกอบไปด้วยเรือประจัญบานคองโกว ฮารูนะ คิริชิมะ เเละ ฮิเอย์ ตามลำดับจากหน้าไปหลัง ที่อยู่ในช่วงระหว่างการเข้าร่วมโจมตีที่มหาสมุทรอินเดีย ในช่วงเดือนเมษายน ของปีค.ศ.1942

ภาพขาวดำต้นฉบับที่ทางเพจนำมาลงสีจาก:http://blogs.c.yimg.jp/res/blog-86-20/piyokkosa1016/folder/508381/37/9701037/img_

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น