เรือลาดตระเวนเบาในฝันที่มาไม่ถึงประเทศไทย
เรือหลวงชุดตากสิน-นเรศวร (Etna-class cruiser)
โดยตามแผนของกองทัพเรือในสมัยรัฐบาลของจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ที่มีโครงการตามพระราชบัญญัติบำรุงกองทัพสยาม ค.ศ.1935 จึงได้มีการเตรียมจัดหาเรือลาดตระเวนเบาจำนวน 2 ลำ โดยไปลงตัวที่อิตาลี ในราคา 1,207,720 ปอนด์ ที่เเยกเป็นราคาของอาวุธอีก 278,400 ปอนด์ ทั้งนี้เราสั่งต่อเรือลาดตระเวนเบาทั้ง 2 ลำจากอู่ต่อเรือเเคนเทียรี่ รูนนิติ เเดล'อาเดรียอาติโก ในเมืองตริเอสเต จนได้รับพระราชทานชื่อว่า รล.ตากสิน และ รล.นเรศวร ลำที่ 1 โดย รล.ตากสิน ได้เริ่มวางกระดูกงูในวันที่ 23 กันยายน ค.ศ.1939 เเละปล่อยเรือลงน้ำในวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ.1942 ส่วน รล.นเรศวร ลำที่ 1 ได้เริ่มวางกระดูกงูในวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ.1939 เเละปล่อยเรือลงน้ำในวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ.1941 แต่ทั้ง 2 ลำ ก็มาไม่ถึงประเทศไทย ทั้งที่ได้มีการเตรียมกำลังพลเพื่อรอรับเรือแล้ว
โดยพลเรือโท วิสิฎฐ์ เผ่าทองศุข อดีตเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือใน สมัยเป็นผู้อำนวยการราชนาวิกสภา ท่านได้บอกว่า อิตาลีเกณฑ์เอาเรือทั้งสองลำนี้ไปใช้ในสงคราม โดยตั้งชื่อใหม่และอยู่ในหมู่เรือลาดตระเวนเบาชุดภูเขาไฟ คือ "เอทน่า" กับ "วิซูเวียต" ซึ่งประวัติในกองทัพเรือเรานั้น มีเพียงประวัติสั้นๆอยู่ว่า
“เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น การสร้างเรือก็ดำเนินไปอย่างล่าช้าก็เพราะ ขาดแคลนวัสดุและการส่งอาวุธประจำเรือ รวมไปถึงปืนใหญ่หลักของเรือขนาด 5.3 นิ้ว ที่ทั้ง 3 ป้อม ก็เป็นเเบบ โบฟอร์ส ของสวีเดนที่รับผลกระทบโดยตรงจากสงครามด้วย เพราะถูกเยอรมันบุก จนเกือบจะถูกยึดครอง”
ซึ่งทางเราคงทราบดีแล้วว่าทางอิตาลีนั้นได้เข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ ก็คือฝ่ายนาซีเยอรมัน และสงครามโลกครั้งที่ 2 ในยุโรปเองเขาก็รบกันมาตั้งแต่ปีค.ศ.1939 หลังจากที่เยอรมันบุกเข้าโปแลนด์
ถึงแม้ว่าไทยจะร่วมรบกับญี่ปุ่นที่ถือว่าเป็นเป็นฝ่ายอักษะร่วมกันกับอิตาลีหลังเดือนมกราคม ค.ศ.1942 จนถูกฝ่ายสัมพันธมิตรส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดเเบบ บี-24 ลิเบอร์เรเตอร์ เข้าทิ้งระเบิดที่กรุงเทพฯ หลังจากญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่ไทย เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ.1941 เเล้วก็ตาม เเต่เมื่อเข้าสถานการณ์คับขันฝ่ายอักษะด้วยกันเองก็ต้องต่างฝ่ายต่างก็ต้องเอาตัวรอดกันทั้งนั้น
เรือรบทั้ง 2 ลำ จึงได้ถูกเกณฑ์เข้าร่วมรบ โดยภายหลังจากอิตาลียอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกในเดือนกันยายน ค.ศ.1943 เรือทั้ง 2 ลำที่สร้างเสร็จไปกว่า 53% ก็ถูกระเบิดทำลายโดยฝ่ายสัมพันธมิตรจนอับปางลงในสภาพนั่งแท่นเกือบจมน้ำ ก่อนที่ฝ่ายเยอรมันจะเข้าครอบครองเรือทั้ง 2 หลังจากนั้นทางฝ่ายเยอรมันก็มีความพยายามที่จะซ่อมเเซมเรือทั้ง 2 ลำเเต่ก็ถูกยกเลิกไป จนกระทั่งได้มีการกู้ตัวเรือขึ้นมาเพื่อทำลายในช่วงปลายทศวรรษที่1940 ณ บริเวณอ่าวของเมืองตริเอสเต ที่ทำให้เรือทั้ง 2 ลำ ไม่มีโอกาสมารับใช้ประเทศไทย ซึ่งในเวลาต่อมาทางอิตาลีได้จ่ายเงินชดเชยค่าต่อเรือลาดตระเวนเบาทั้ง 2 ลำคืนให้เเก่ไทยเป็นจำนวน 601,360 ปอนด์
ลักษณะเฉพาะ
ชั้น: เรือลาดตระเวนเบา ระวางขับน้ำ: 5,900 ตัน เต็มที่ 6,000 ตัน ความยาว: 153.8 เมตร (ตลอดเเนวน้ำ) ความกว้าง: 14.47 เมตร กินน้ำลึก: 5.95 เมตร เครื่องยนต์: กังหันไอน้ำ 2 เพลาใบจักร 3 หม้อน้ำ 40,000 แรงม้า ความเร็ว: 28 นอต อัตราเต็มที่: 580 นาย ยุทโธปกรณ์: -ปืนใหญ่ขนาด 135 มม.(5.3 นิ้ว)/45 คาลิเบอร์ เเบบเเท่นคู่ 3 เเท่น -ปืนต่อสู้อากาศยานขนาด 65 มม.(2.6นิ้ว) เเบบเเท่นเดี่ยว 10 กระบอก -ปืนกลขนาด 20 มม.(0.79นิ้ว) เเบบเเท่นเดี่ยวอีก 20 กระบอก -ตอร์ปิโดขนาด 18 นิ้ว เเบบเเฝด 3 จำนวน 2 เเท่น อากาศยาน: เครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล 2 เครื่อง เกราะ: -ด้านข้าง 60 มม. -ดาดฟ้า 20-35 มม.
ขอขอบคุณข้อมูลหลักๆจาก : http://www.rtni.org/th/library/wp-content/uploads/2013/11/นาวิกศาสตร์-พย-2555-เรือรบหลวงที่มาไม่ถึงประเทศไทย.pdf
เป็นภาพขณะที่ เรือหลวงนเรศวร กำลังถูกปล่อยลงสู่น้ำในพิธีปล่อยเรือลงน้ำที่อู่ต่อเรือเเคนเทียรี่ รูนนิติ เเดล'อาเดรียอาติโก ที่เมืองตริเอสเต ในประเทศอิตาลี เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ.1941
ภาพต้นฉบับก่อนนำมาลงสีจาก : http://img42.imageshack.us/img42/6719/cubie2.png |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น