เรือประจัญบานนางาโตะ (Japanese battleship Nagato)
ซึ่งเป็นเรือที่ได้รับการตั้งชื่อตามชื่อของจังหวัดนางาโตะ ที่ได้ถูกสั่งต่อในวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ.1916 เเละได้เริ่มวางกระดูกงูเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ.1917 เเละได้ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำโดยกัปตัน คาโตะ โทโมะซาบุโระ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ.1919 จนกระทั่งเรือสร้างเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ.1920 เเละได้ทำการขึ้นระวางในอีก10 วันต่อมา
นางาโตะเป็นเรือประจัญบานในเเบบเดรดนอจ์ทที่เคยได้เป็น 1 ใน 7 (บิ๊ก7) ของเรือประจัญบานที่ใหญ่ที่สุดในโลกเเห่งกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงทศวรรษที่1910 เเละเป็นเรือลำเเรกของชั้นที่ตามมาด้วยเรือประจัญบานมุทสึอีกหนึ่งลำ โดยภารกิจเเรกของนางาโตะคือการได้มีส่วนร่วมในการลำเลียงสิ่งของบรรเทาทุกข์สำหรับการช่วยเหลือผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์เเผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่คันโต ในปีค.ศ.1923
ซึ่งในเวลาต่อมานางาโตะก็ได้รับการปรับปรุงขนานใหญ่ ในช่วงระหว่างปีค.ศ.1934-1936 ด้วยการเพิ่มสมรรถนะในส่วนของอาวุธ เกราะ เเละเครื่องยนต์ ที่รวมไปถึงการต่อเติมในส่วนของสะพานเดินเรือใหม่ให้เป็นสถาปัตยกรรมทรงหอเจดีย์ในเเบบของประเทศจีน
นางาโตะได้มีส่วนร่วมในช่วงเวลาสั้นๆในสงครามจีนญี่ปุ่นครั้งที่สองในปีค.ศ.1937 จนกระทั่งได้มาทำหน้าที่เป็นเรือธงของพลเรือเอก อิโซโรกุ ยามาโมโตะ ในช่วงระหว่างการเข้าโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ โดยทำหน้าที่เป็นเพียงเรือคุ้มกันกองเรือบบรรทุกเครื่องบินที่เข้าโจมตีจนกระทั่งถอนกำลัง โดยนางาโตะไม่ได้มีส่วนร่วมโดยตรงในการโจมตีเเต่อย่างใด
นอกจากนี้ นางาโตะยังได้มีส่วนร่วมในยุทธนาวีที่มิดเวย์ในช่วงเดือนมิถุนายน ของปีค.ศ.1942 เเต่นางาโตะก็ไม่ได้เข้าปะทะกับฝ่ายข้าศึกเเต่อย่างใค โดยนางาโตะจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในช่วงสองปีเเรกของสงครามแปซิฟิกด้วยการซ้อมรบในน่านน้ำของตนเอง จนกระทั่งนางาโตะได้เดินทางไปยังทรัคในช่วงกลางๆปีค.ศ.1943 แต่นางาโตะก็ไม่ได้เข้าร่วมรบเเต่อย่างใด จนมาถึงในยุทธนาวีที่ทะเลฟิลิปปินที่อยู่ในช่วงกลางๆปีค.ศ.1944 นางาโตะก็มาถูกโจมตีโดยเครื่องบินของสหรัฐฯ เเต่นางาโตะเองก็ยังไม่ได้ทำการโจมตีด้วยหมู่ปืนหลักกับเรือรบของฝ่ายข้าศึกเลยซักครั้ง จนมาถึงในยุทธนาวีที่อ่าวเลย์เตในช่วงเดือนตุลาคม ของปีค.ศ.1944 ที่ทำให้นางาโตะได้รับความเสียหายเพียงเล็กน้อยจากศึกในครั้งนี้ และก็ได้เดินทางกลับไปยังญี่ปุ่นในเดือนต่อมา
ในช่วงท้ายๆของสงครามโลกครั้งที่สองจักรวรรดิญี่ปุ่นได้ประสบปัญหาจากการขาดเเคลนเชื้อเพลิงอย่างหนัก ที่เป็นเหตุให้ทางกองทัพจึงได้ตัดสินใจที่จะไม่ทำการซ่อมแซมเรือลำนี้อีกต่อไป นางาโตะจึงได้ถูกดัดแปลงให้เป็นฐานยิงปืนต่อต้านอากาศยานลอยน้ำ โดยทำหน้าที่เป็นฐานป้องกันตามเเนวชายฝั่งของญี่ปุ่น จนกระทั่งนางาโตะมาถูกโจมตีอีกครั้งในช่วงเดือนกรกฎาคม ของปีค.ศ.1945 ที่เป็นส่วนหนึ่งของเเผนการที่จะทำลายเรือหลวงของจักรวรรดิญี่ปุ่นที่เหลือเป็นลำสุดท้าย แต่นางาโตะก็กลับได้รับความเสียหายจากการโจมตีเเค่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
จนกระทั่งท้ายที่สุดภายหลังจากจักรวรรดิญี่ปุ่นยอมจำนน นางาโตะก็ได้ถูกนำไปเป็นเป้าในการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ในปฏิบัติการครอสโรดส์ ที่บิกีนีอะทอลล์ โดยภายหลังจากการทดสอบครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ.1946 ตัวเรือได้รับความเสียหายเพียงเล็กน้อยเเละยังไม่จม เเละถูกทดสอบอีกครั้งในวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ.1946 ที่ส่งผลให้เรือเกิดการเอียงจนกระทั่งจมลงในช่วงระหว่างคืนของวันที่ 29-30 กรกฎาคม ค.ศ.1946 ที่เป็นการปิดฉากตำนานของเรือประจัญบานลำสุดท้ายของจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
เรือประจัญบานนางาโตะ ขณะทำการยิงด้วยหมู่ปืนหลักขนาด 41 ซม. ในช่วงของปีค.ศ.1936
ภาพขาวดำต้นฉบับที่ทางเพจจะนำมาลงสีจาก: http://cdn-live.warthunder.com/uploads/38/23b1fa22c242c5e3cf370a765cca3333bc9775/NagatoFiring1936.jpg |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น