Japanese cruiser Kitakami 北上 (軽巡洋艦)


เรือลาดตระเวบเบาคิตาคามิ ภายหลังจากได้รับการดัดเเปลงเพื่อให้สามารถบรรทุกตอร์ปิโดมนุษย์"ไคเทน"เป็นจำนวน 8 ลำ พร้อมกับติดตั้งปืนต่อสู้อากาศยานเเบบไทป์ 89 จำนวน 2 เเท่น เเละเเบบไทป์ 96 เเบบแฝด 3 จำนวน 12 เเท่น เเละเเบบเเท่นเดี่ยวอีก 13 เเท่น ณ บริเวณฐานทัพเรือซาเซโบะ เมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ.1945
ขอขอบคุณภาพขาวดำต้นฉบับจาก : https://goo.gl/7z1m36
///////// @Tao /////////

Japanese battleship Haruna 榛名 (戦艦)


เรือประจัญบานเร็วฮารุนะ ในรูปน่าจะภายหลังการปรับปรุงใหม่ เเละกำลังเเล่นทดสอบในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1933 ไม่ทราบสถานที่ของภาพ
รูปใหญ่ : http://imgur.com/a/1kg3G
รูปนี้มาจากหนังสือ IJN Warship Album Battleships & Battle Cruisers ของ Diamond Sha โดยนาย Yuriy Dmitriev จากเว็ปhttps://goo.gl/jOJiDY
@Iwato//

Japanese cruiser Chikuma 筑摩 (重巡洋艦)


เรือลาดตระเวนหนักจิคุมะ ที่คาดว่าจะอยู่ในช่วงของเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1941
ขอขอบคุณภาพขาวดำต้นฉบับจาก : https://goo.gl/fVAlQB
///////// @Tao /////////

HTMS Sri Ayudhya Ship of The King Bhumibol Adulyadej



เรือรบอีกหนึ่งลำเเห่งราชอาณาจักรไทย ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ทรงมีพระราชปฏิสัมพันธ์มากที่สุดลำนึงในประวัติศาสตร์ กับ....
เรือหลวงศรีอยุธยา (HTMS Sri Ayudhya)
ที่เป็นเรือรบประเภทเรือปืนยามฝั่งเเห่งราชนาวีไทย โดยมีระวางขับน้ำขนาด 2,350 ตัน ด้วยเครื่องยนต์ดีเซล 2 เครื่อง ที่มีความเร็วมัธยัสถ์อยู่ที่ 12.2 น็อต พร้อมกับหมู่ปืนใหญ่หลักขนาด 8 นิ้ว เเบบเเท่นคู่ จำนวน 2 เเท่น เเละหมู่ปืนรองขนาด 3 นิ้ว อีก 4 กระบอก กับปืนกลขนาด 20 มิลลิเมตร อีก 4 กระบอก พร้อมพลประจำเรืออีก 234 นาย โดยที่เรือลำนี้ได้ถูกสั่งต่อจากอู่ต่อเรือคาวาซากิ ในประเทศญี่ปุ่น ที่ได้ทำการขึ้นระวางเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ.1938 ซึ่งเป็นเรือพี่เรือน้องกับ เรือหลวงธนบุรี ที่กำลังจะเข้าไปเปลี่ยนเวรรักษาการณ์ ณ เกาะช้าง ที่จังหวัดตราด ในช่วงเย็นของวันที่ 16 มกราคม ค.ศ.1941 เเต่ก็เกิดยุทธนาวีกับฝรั่งเศส (ยุทธนาวีเกาะช้าง) ในเช้าวันรุ่งขึ้นที่ให้เรือหลวงธนบุรีจมลงไปเสียก่อนแล้ว ส่งผลให้ เรือหลวงศรีอยุธยา จึงเปรียบเสมือนเป็นตัวตายตัวเเทนของ เรือหลวงธนบุรี ที่ได้เเสดงความกล้าหาญอีกลำหนึ่งของราชนาวีไทย
เรือหลวงศรีอยุธยา ได้เคยถวายงานเป็นเรือพระที่นั่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (ขณะทรงมีพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช) และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ครั้งเสด็จนิวัติพระนครครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ.1938 และเสด็จนิวัติพระนครครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ.1950 พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (ขณะทรงมีพระอิสริยยศเป็น หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชจึงทรงมีพระราชปฏิสัมพัทธ์กับเรือพระที่นั่งลำนี้ ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ดังจะเห็นได้จากพระบรมฉายาลักษณ์ที่ทรงต่อเรือหลวงศรีอยุธยาจำลอง ด้วยฝีพระหัตถ์ของพระองค์เอง
เรือหลวงศรีอยุธยา มีส่วนเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์การเมืองไทยในกรณีกบฏแมนฮัตตัน เมื่อวันที่ 29-30 มิถุนายน ค.ศ.1951 เมื่อทหารเรือกลุ่มหนึ่ง ที่นำโดย นาวาตรี มนัส จารุภา ได้นำกำลังทหารเรือส่วนหนึ่งพร้อมด้วยอาวุธปืนกลแมดเสน ซึ่งถือเป็นอาวุธหนัก เข้าบุกจู่โจมจับตัว จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ขณะทำหน้าที่เป็นประธานพิธีรับมอบเรือขุดสันดอนสัญชาติอเมริกันชื่อ "แมนฮัตตัน" จากอุปทูตสหรัฐอเมริกา ที่ท่าราชวรดิฐ ในเวลา 15.00 น. ท่ามกลางแขกเหรื่อผู้มีเกียรติมากมายในพิธี ลงจากเรือแมนฮัตตัน จากนั้นได้นำตัวลงเรือข้ามฟากเพื่อนำขึ้นไปยังเรือหลวงศรีอยุธยา ที่จอดลอยลำอยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อเป็นตัวประกัน
เหตุที่ใช้เรือหลวงศรีอยุธยาเป็นสถานที่กักตัวประกัน ซึ่งเป็นเสมือนหัวใจสำคัญนั้น เพราะคณะผู้ก่อการมั่นใจในประสิทธิภาพของเรือ เพราะเป็นเรือเหล็กหุ้มเกราะที่หนาถึง 2.5 นิ้ว จนอาวุธเบาไม่สามารถทำอะไรได้ อีกทั้งยังมีอาวุธที่ทรงอานุภาพ คือ ปืนโฟร์ฟอร์ตที่มีขนาดถึง 8 นิ้ว ใว้ยิงวิถีราบ ที่ถือว่ามีอานุภาพสูงกว่าอาวุธของทางทหารบกเสียอีก
แต่ทว่าแผนการรัฐประหารในครั้งนี้เกิดความผิดพลาด เมื่อไม่เป็นไปตามแผน ซึ่งเรือหลวงศรีอยุธยาจะต้องแล่นผ่านสะพานพระพุทธยอดฟ้า เพื่อไปตั้งกองบัญชาการที่กรมสรรพาวุธทหารเรือที่เขตบางนา แต่ทว่าสะพานดันไม่เปิด จึงต้องกลับลำที่หน้าป้อมวิชัยประสิทธิ์ แล้วแล่นไปจอดลอยลำหน้าท่าราชวรดิฐ ตลอดทั้งคืนของวันที่ 29 มิถุนายน ค.ศ.1951 เเต่การปะทะก็ยังไม่เกิดขึ้น แต่บรรยากาศของความตึงเครียดก็ได้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
ในส่วนตัวของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ถูกจับกุมตัวไป ได้เจรจากับคณะผู้ก่อการที่นำโดย นาวาเอก อานนท์ ปุณฑริกกาภา และ น.ต.มนัส จารุภา ถึงเหตุผลของการกระทำ และเป็นผู้เสนอที่จะออกอากาศโดยบันทึกเสียงจากเส้นลวดบันทึกเสียง แล้วถูกนำไปออกอากาศกระจายเสียงทางวิทยุทหารเรือ ว่าเป็นแถลงการณ์จากนายกรัฐมนตรีด้วยความสมัครใจ ไม่ได้เป็นการบีบบังคับ แต่ทางฝ่ายรัฐบาลได้ออกกระจายเสียงตอบโต้ไปทางวิทยุกรมการรักษาดินแดน ซึ่งทางรัฐบาลได้ตัดสินใจให้ฝ่ายทหารเรือบุกชิงตัวจอมพล ป. กลับคืนมาก่อนรุ่งสาง ไม่เช่นนั้นจะทำการเข้าโจมตีให้เด็ดขาดกันไปข้างนึง แต่ทางทหารเรือปฏิเสธเพราะเกรงว่าจอมพล ป. จะได้รับอันตราย แม้ทาง พลเรือโท ผัน นาวาวิจิต ผู้บังคับการกองเรือรบ ซึ่งถือเป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงของคณะผู้ก่อการ จะขออาสาขึ้นไปบนเรือเองในเวลารุ่งเช้าเพื่อเจรจากับกลุ่มผู้ก่อการ
จนกระทั่งเช้ามืดของวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ.1951 ทหารฝ่ายรัฐบาลระดมกำลังเข้าโจมตีทหารเรือทุกจุด การยิงต่อสู้เป็นไปอย่างดุเดือดติดต่อกันหลายชั่วโมง จนเรือหลวงศรีอยุธยาต้องหะเบส "ถอนสมอ" ออกจากท่าราชวรดิฐ แล่นขึ้นไปทางเหนือแล้วล่องลงมาเพื่อทำการยิงสนับสนุน ต่อมากองทัพอากาศส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิด บริเวณลานวัดพระยาทำ ขณะทหารกำลังตั้งแถวรับคำสั่ง ที่บริเวณกรมอู่ทหารเรือ และที่กองเรือรบซึ่งทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ และเสียชีวิตเป็นจำนวนมากทั้งทหารและพลเรือน ถึงตอนนี้เรือหลวงศรีอยุธยา เครื่องยนต์ก็เกิดเสียจากการถูกโจมตีอย่างหนัก เเละเครื่องจักรใหญ่ของเรือก็ใช้การได้เพียงเครื่องเดียว เเละเรือหลวงศรีอยุธยาก็ล่องลงมาถึงหน้าป้อมวิชัยประสิทธิ์ เพื่อกลับลำ ปรากฏว่าเครื่องกลับจักรขวาเกิดชำรุดขึ้นมาอีก จึงหมดสมรรถภาพที่จะสามารถในการขับเคลื่อนต่อไปได้อีก เลยต้องลอยลำอยู่หน้าป้อมวิชัยประสิทธิ์ จนกระทั่งฐานที่มั่นของคณะผู้ก่อการที่ท่าราชวรดิฐแตก เป้าการโจมตีจึงหันมาอยู่ที่เรือหลวงศรีอยุธยาเเต่เพียงอย่างเดียว
จนกระทั่งเวลาประมาณ 15.30 น. ทางกองทัพอากาศที่บัญชาการโดย พลอากาศเอก ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี ตัดสินใจส่งเครื่องบิน (ฝึก) เเบบ เอ.ที.6 หรือ ฝ.8 เป็นจำนวนมากเข้ามารุมโจมตีเรือหลวงศรีอยุธยา พร้อมทั้งยิงกราดด้วยปืนกล ขณะเดียวกันทหารบกและตำรวจช่วยทำการยิงขัดขวางไม่ให้ทหารประจำเรือให้สามารถขึ้นมายิงต่อสู้กับเครื่องบินบนดาดฟ้าได้ ซึ่งภารกิจยิงต่อสู้จึงตกอยู่กับทหารเรือที่อยู่บนป้อมวิชัยประสิทธิ์ และพระราชวังเดิม ซึ่งต้องยิงต่อสู้ทั้งเครื่องบิน และทหารรัฐบาลฝั่งตรงข้าม การต่อสู้ก็มีแต่อาวุธเบา จนกระทั่งในที่สุดเรือหลวงศรีอยุธยาก็เกิดเพลิงไหม้ ที่ทำให้สถานการณ์ของฝ่ายผู้ก่อการแย่ลงทุกขณะ จนทำให้ทหารเรือ 2 นายที่ประจำเรือหลวงศรีอยุธยาตัดสินใจสวมเสื้อชูชีพให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม แล้วนำกระโดดลงน้ำว่ายข้ามมา โดยมีทหารเรือที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์เป็นผู้ยิงคุ้มกันให้
หลังจากนั้นทั้งสองฝ่ายจึงเปิดการเจรจากันในที่สุด โดยคณะผู้ก่อการก็ยอมรับความพ่ายแพ้ด้วยการปล่อยตัวจอมพล ป. กลับคืนให้แก่รัฐบาลด้วยความปลอดภัย และแกนนำผู้ก่อการต้องแยกย้ายกันหลบหนีด้วยรถไฟไปทางภาคเหนือก่อนจะเดินเท้าข้ามพรมแดนข้ามไปยังประเทศพม่า
ในส่วนของเรือหลวงศรีอยุธยา หลังจากเกิดไฟไหม้อยู่เป็นเวลานานก็ได้อัปปางลงที่กลางแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงกลางดึกของคืนวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ.1951
จนกระทั่งต่อมาซากเรือหลวงศรีอยุธยาก็ได้ถูกกู้ขึ้นมาเมื่อในวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ.1959 ด้วยเพราะเพื่อไม่ให้ซากของเรือเป็นสิ่งกีดขวางในเส้นทางของการเดินเรือในเเม่น้ำเจ้าพระยา ด้วยคำสั่งจากคณะรัฐมนตรีที่ 350/21315
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://th.wikipedia.org/wiki/เรือหลวงศรีอยุธยา
ภาพต้นฉบับที่เป็นภาพของเรือหลวงศรีอยุธยา ณ บริเวณท่าเทียบเรือที่เมืองโยโกฮามะ ในวันที่ 12 กันยายน ค.ศ.1938 จาก :http://www.marinerthai.net/sara/pics/94005.JPG
///////// @Tao ///////// ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ



Japanese battleship Mutsu 陸奥 (戦艦) 1937



Japanese battleship Mutsu (1937)

ที่ได้เป็นเรือลำที่สองของเรือประจัญบานในชุดนางาโตะ โดยได้เริ่มวางกระดูกงูในวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ.1918 เเละขึ้นระวางในวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ.1921 ต่อมาในปีค.ศ.1923 เรือประจัญบานมุทสึได้ถูกนำมาใช้ในการช่วยเหลือผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์เเผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในคันโต เเละในช่วงปีค.ศ.1934-1936 ตัวเรือได้รับการปรับปรุงในด้านของเกราะ เครื่องยนต์ เเละทำการก่อสร้างสะพานเดินเรือใหม่ให้เป็นสถาปัตยกรรมทรงหอเจดีย์
จนกระทั่งในปีค.ศ.1942 เรือประจัญบานมุทสึก็ได้เป็นส่วนหนึ่งในยุทธการเข้าโจมตีที่มิดเวย์เเละเข้าร่วมรบที่หมู่เกาะโซโลม่อนตะวันออก เเต่ทว่าเรือประจัญบานมุทสึนั้นกลับไม่ได้เข้าปะทะกับข้าศึกหรือมีบทบาทสำคัญๆเลยเเต่อย่างใด โดยจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในช่วงปีเเรกของสงครามในมหาสมุทรแปซิฟิกด้วยการฝึกซ้อมรบ กระทั่งล่วงเลยมาถึงในช่วงต้นปีค.ศ.1943 เรือประจัญบานมุทสึได้เดินทางกลับไปยังประเทศญี่ปุ่นอีกดรั้ง
เเละท้ายที่สุด ในวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ.1943 ณ เวลา 12:13 น. ขณะที่เรือกำลังจอดทอดสมออยู่ที่เกาะฮาชิระ ก็ได้เกิดการระเบิดขึ้นอย่างรุนเเรงที่คลังกระสุนของป้อมปืนใหญ่ที่ 3 จนส่งผลให้เรือจมลงพร้อมกับการสูญเสียของลูกเรือถึง 1,121 คนจากจำนวน 1,474 คน มีลูกเรือเพียง 353 คนเท่านั้นที่รอดชีวิต เเละโดยส่วนใหญ่ของผู้บาดเจ็บเเละเสียชีวิตเกิดจากการจมน้ำไม่ได้เกิดจากการระเบิดเเต่อย่างใด
เรือประจัญบานมุทสึ ขณะจอดอยู่ที่ท่าเรือโยโกสึกะ ในช่วงราวๆเดือนกุมภาพันธ์ ของปีค.ศ.1937
ขอขอบคุณภาพขาวดำต้นฉบับจาก : http://i.imgur.com/TaeFRzT.jpg

///////// @Tao /////////

USS Atlanta (CL-51)


เรือลาดตระเวนเบา ยูเอสเอส เเอตเเลนต้า (ซีเเอล-51) เเห่งกองทัพเรือสหรัฐฯในเเบบลายพราง ที่ขณะกำลังจะนำเรือเข้าเทียบกับเรือลาดตระเวนหนัก ยูเอสเอส ซานฟรานซิสโก (ซีเอ-38) เพื่อจะทำการเติมเชื้อเพลิงกลางทะเลเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ.1942

ขอขอบคุณภาพขาวดำต้นฉบับจาก : 
https://goo.gl/tPvsKB
Copy short URL

///////// Tao /////////

Japanese battleship Fuso 扶桑 (戦艦) 1933


เรือประจัญบานฟุโซว ขณะทำการเเล่นทดสอบที่บริเวณอ่าวสึคุโมะ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ.1933

ขอขอบคุณภาพขาวดำต้นฉบับจาก :http://i.imgur.com/qreW7PD.jpg

///////// Tao /////////

Japanese cruiser Mogami 最上 (重巡洋艦) 1935


เรือลาดตระเวนเบาโมกามิ ขณะเเล่นทดสอบที่ท่าเรือคุเระ ในช่วงปี ค.ศ. 1935
@Hata//