Battle off Samar


ภาพของกองเรือเเทฟฟี่ 3 ในขณะที่เรือบรรทุกเครื่องบินคุ้มกัน ยูเอสเอส เซนต์ โล (ซีวีอี-63) ในเเบบลายพรางกำลังพยายามสร้างม่านควัน เพื่อพรางตัวจากการโจมตีของกองเรือกลางญี่ปุ่น ในยุทธนาวีที่นอกเกาะซามาร์ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ.1944

ภาพต้นฉบับก่อนทำการปรับปรุงเเละลงสีเพิ่มเติมอีกเล็กน้อย : http://www.wcnews.com/newestshots/full/CVEs-making-smoke.jpg

///////// @Tao /////////

USS Hornet (CV-12)


ภาพของเครื่องบินดำดิ่งทิ้งระเบิด เคอร์ติส เอสบี2ซี เฮลไคร์ฟเวอร์ ทั้ง 2 เครื่อง ในขณะกำลังบินอยู่เหนือเรือบรรทุกเครื่องบิน ยูเอสเอส ฮอร์เน็ท (ซีวี-12) ในช่วงของปีค.ศ.1945

Cr.: http://s217.photobucket.com/user/SHAEF1944/media/WWII_ColorizedBySHAEF/SB2C_1944.jpg.html

///////// @Tao /////////

Imperial Japanese Navy Naval Review in 1940


ภาพในขณะที่ฝูงบินของเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลขนาดใหญ่ คาวานิชิ เอช6เค (มาวิส) ที่กำลังบินอยู่เหนือพิธีสวนสนามทางเรือเนื่องในโอกาสครบรอบ 2,600 ปีในการขึ้นครองราชย์ของปฐมจักรพรรดิจิมมุ ที่บริเวณอ่าวโตเกียว เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ.1940

โดยภายในภาพนี้จะปรากฎเรือรบที่เห็นได้อย่างชัดเจนดังต่อไปนี้ เริ่มจากเเถวหน้าสุดที่นับจากซ้ายไปขวาของภาพจะประกอบไปด้วย เรือลาดตระเวนหนักคุมาโนะ เรือประจัญบานฮารูนะ เเละ คองโกว เเละในส่วนของเเถวที่สองนับจากซ้ายไปขวาก็จะประกอบไปด้วย เรือประจัญบานยามาชิโระ อิเสะ มุทสึ เเละ นางาโตะ เเละสุดท้ายในส่วนของเเถวที่สามนับจากจากซ้ายไปขวาจะประกอบไปด้วยเรือบรรทุกเครื่องบินทะเลมิซึโฮ เรือบรรทุกเครื่องบินโซริว ฮิริว เเละ อาคากิ ตามลำดับ

ภาพขาวดำต้นฉบับก่อนนำมาลงสีจาก :http://i.imgur.com/bmWBJWz.jpg

///////// @Tao /////////







USS New Mexico (BB-40)


ภาพในส่วนของเรือประจัญบาน ยูเอสเอส นิวเเม๊กซิโก (บีบี-40) ขณะทำการเติมกระสุนขนาด 14นิ้ว ก่อนที่จะทำการเข้ารุกรานเกาะกวม ในช่วงเดือนกรกฏาคม ปี ค.ศ. 1944

Cr. http://goo.gl/iIzV30 

@Hata//

German aircraft carrier Graf Zeppelin


German aircraft carrier Graf Zeppelin

เรือบรรทุกเครื่องบิน กราฟ เซพเพลิน ที่เป็นเพียงเรือบรรทุกเครื่องบินลำเเรกเเละลำเดียวในชั้นของ กราฟ เซพเพลิน เเห่งครีกส์มารีน ที่ได้รับการทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำ ที่มีจุดประสงค์สำคัญตามเเผนการของกองทัพเรือเยอรมันที่ต้องการจะทำการคานเเละขยายอำนาจทางทะเลระหว่างทะเลบอลติกกับทะเลเหนือ ซึ่งถ้าหาก กราฟ เซพเพลิน ถูกสร้างเสร็จสมบูรณ์เเล้วจริงๆจะสามารถบรรทุกเครื่องบินได้เป็นจำนวน 42 เครื่องด้วยกัน โดยเเบ่งเป็นเครื่องบินดำดิ่งทิ้งระเบิด จุงเกอร์ จู 87 จำนวน 12 เครื่อง เครื่องบินขับไล่ เมสเซอร์ชมิตต์ บีเอฟ 109 จำนวน 10 เครื่อง เเละเครื่องบินทิ้งระเบิดตอร์ปิโด ฟิเซเลอร์ เอฟไอ 167 อีก 20 เครื่อง

โดยที่ กราฟ เซพเพลิน ได้เริ่มทำการวางกระดูกงูในวันที่ 28 ธันวาคม ค.ศ.1936 ภายในอู่ต่อเรือดอยซ์ แว็คเกอร์ ที่เมืองคีล โดยได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติเเก่ กราฟ เฟอร์ดินานด์ ฟอน เซพเพลิน เเละได้ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ.1938 ในขณะที่ตัวเรือได้สร้างเสร็จไปกว่า 85% สงครามโลกครั้งที่สองก็ได้เริ่มต้นขึ้นในช่วงเดือนกันยายน ของปีค.ศ.1939

กราฟ เซพเพลิน ที่ยังสร้างไม่เสร็จอันเนื่องมาจากมีการเปลียนเเปลงลำดับความสำคัญในโครงการระหว่างการก่อสร้างเรือลำนี้ โดยในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง กราฟ เซพเพลิน ได้ถูกเคลื่อนย้ายไปมาในเเถบทะเลบอลติก ตลอดจนกระทั่งในช่วงเดือนเมษายน ของปีค.ศ.1945 ขณะที่ฝ่ายเยอรมันใกล้จะพ่ายเเพ้ในสงคราม ทางลูกเรือของ กราฟ เซพเพลิน ก็ได้ตัดสินใจปล่อยน้ำเข้าเรือ เเละได้ทำการวางระเบิดเรือในขณะที่กองทัพของสหภาพโซเวียตเคลื่อนทัพเข้าสู่เมืองสเชชเซ็น ในเช้าของวันที่ 25 เมษายน ค.ศ.1945 เพื่อป้องกันมิให้เรือลำนี้ตกไปอยู่ในมือของฝ่ายสหภาพโซเวียต

ในเวลาต่อมาทางสหภาพโซเวียตก็ได้ตัดสินใจกู้เรือลำนี้ขึ้นมาในช่วงเดือนมีนาคม ของปีค.ศ.1946 จนกระทั่งท้ายที่สุดในวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ.1947 กราฟ เซพเพลิน ก็ถูกนำมาเป็นเป้าทดสอบอาวุธกระทั่งจมลงทางตอนเหนือของโปแลนด์

เเละจนกระทั่งในวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ.2006 ซากของเรือบรรทุกเครื่องบิน กราฟ เซพเพลิน ก็ได้ถูกค้นพบโดยเรือสำรวจ อาร์วี เซนต์ บาร์บาร่า ของบริษัทน้ำมันโปแลนด์ ที่ทางตอนเหนือของเมืองวลาดีสลาโวโว โดยภายหลังทางกองทัพเรือโปเเลนด์ได้ทำการเข้าสำรวจอีกครั้งโดยยืนยันว่ากว่า 99% เป็นซากของเรือบรรทุกเครื่องบิน กราฟ เซพเพลิน อย่างเเน่นอน

เป็นภาพของเรือบรรทุกเครื่องบิน กราฟ เซพเพลิน ในขณะทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ.1938 ที่อู่ต่อเรือดอยซ์ แว็คเกอร์ ในเมืองคีล

ภาพขาวดำต้นฉบับก่อนนำมาลงสีจาก : http://www.inspirefirst.com/wp-content/uploads/2012/06/337.jpg

ขอขอบคุณบทความจาก :https://en.wikipedia.org/wiki/German_aircraft_carrier_Graf_Zeppelin

///////// @Tao /////////














Bofors 40 mm Mk 12 on USS Hornet (CV-12)


ภาพในส่วนของพลปืนต่อต้านอากาศแบบโบฟอส ขนาด 40 มม. ขณะทำการฝึกซ้อมบนเรือบรรทุกเครื่องบิน ยูเอสเอส ฮอร์เน็ต (ซีวี-12) ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1945

Cr.http://goo.gl/RkBc0P

@Hata//

Japanese battleship Fuso 扶桑 (戦艦) 1933


เรือประจัญบานฟุโซว ขณะทำการจอดทอดสมออยู่ในช่วงของปีค.ศ.1933

ภาพขาวดำต้นฉบับก่อนนำมาลงสีจาก :http://i.imgur.com/ifpeJkV.jpg

///////// @Tao /////////

เรือประจัญบานในชั้นฟุโซว มีด้วยกันสองลำ คือ ฟุโซว เเละ ยามาชิโระ ทั้งสองถูกสร้างขึ้นในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยทั้งสองได้เริ่มปฎิบัติภารกิจเเรกด้วยการออกลาดตระเวนตามชายฝั่งของประเทศจีนในช่วงเวลาที่ไม่นานนักก่อนที่จะถูกนำไปเป็นกองกำลังสำรองในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดลง เเละในปีค.ศ.1922 โดยที่ยามาชิโระได้ประสบความสำเร็จโดยสามารถทำการปล่อยเครื่องบินขับไล่เเบบปีกสองชั้น กลอสเตอร์ สเเปร์โรว์ฮอว์ค เเละโซพวิธ คาเมล ขึ้นจากเรือได้เป็นลำเเรกของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น เเละต่อมาในปีค.ศ.1923 ทั้งสองได้ถูกนำมาใช้ในการช่วยเหลือผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์เเผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในคันโตบนเกาะฮอนชู ที่มีผู้เสียชีวิตกว่า 100,000 คน เเละมีผู้สูญหายที่คาดว่าจะเสียชีวิตอีกประมาณ 40,000 คน

กระทั่งในช่วงทศวรรษที่ 1930 ทั้งสองได้รับการปรับปรุงเเละต่อเติมครั้งใหญ่เพื่อให้ทันสมัยยิ่งขึ้นทั้งในด้านของเกราะ เเละสมรรถนะของเครื่องยนต์ โดยเฉพาะในส่วนของสะพานเดินเรือที่ได้มีการก่อสร้างใหม่ให้เป็นสถาปัตยกรรมเเบบทรงหอเจดีย์จีนที่มีค่าใช้จ่ายที่สูงมากๆ โดยที่ ฟุโซว ได้เริ่มต้นทำการปรับปรุงเเละต่อเติมในช่วงปีค.ศ.1930-1933 เเละอีกครั้งในช่วงปีค.ศ.1937-1941 เเละในขณะที่ ยามาชิโระ ได้เริ่มต้นทำการปรับปรุงตั้งเเต่ปีค.ศ.1930 จนถึงปีค.ศ.1935 เเต่ในช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง ทั้งคู่กลับไม่ได้มีบทบาทสำคัญๆเเต่อย่างใด โดยที่ ฟุโซว เองนั้นได้ทำหน้าที่เป็นเพียงเรือลำเลียงพลในช่วงปีค.ศ.1943 เเละในขณะเดียวกัน ยามาชิโระ เองก็ทำหน้าที่เป็นเพียงเรือสำหรับทำการฝึกซ้อมทางทะเลเท่านั้น จนกระทั่งในปีค.ศ.1944 ที่ทั้งสองได้รับการเพิ่มสมรรถนะในส่วนของปืนต่อต้านอากาศยาน ก่อนที่ทั้งสองจะถูกย้ายไปประจำการยังสิงคโปร์ ในช่วงเดือนสิงหาคม ของปีค.ศ.1944

กระทั่งท้ายที่สุด ณ วันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ.1944 ทั้ง ฟุโซว เเละ ยามาชิโระ ที่เป็นเรือประจัญบานเพียงสองลำเท่านั้นที่ได้เข้าร่วมรบในยุทธการที่ช่องแคบซูริกาโอ เเละขณะเดียวกันก็เป็นวาระสุดท้ายของเรือประจัญบานทั้งสอง โดยสภาพของเรือประจัญบานฟุโซว ตามที่นักประวัติศาสตร์ แอนโธนี ทัลลี่ ได้กล่าวไว้ในปีค.ศ.2009 ว่าเรือประจัญบานฟุโซว ภายหลังจากการถูกโจมตีด้วยจรวดตอร์ปิโดเเละจากกระสุนปืนใหญ่ของกองทัพเรือสหรัฐที่ส่งผลให้ ฟุโซว เกิดการระเบิดจนเเยกออกเป็นสองส่วน (ที่ไม่ต่างจากเรือฮู้ด) เเละทั้งสองส่วนเกิดเพลิงไหม้นานกว่าหนึ่งชั่วโมงก่อนจะจมลง ณ ช่วงเวลา 03:38-03:50น. เเละภายหลังจากเรือ ฟุโซว จมลงมีลูกเรือเพียงคนเดียวเท่านั้นที่รอดชีวิต เเละในส่วนของเรือประจัญบานยามาชิโระเองนั้นก็ถูกโจมตีด้วยจรวดตอร์ปิโดเเละจากกระสุนปืนใหญ่ของกองทัพเรือสหรัฐจนเกิดเพลิงไหม้เเละจมลง ณ ช่วงเวลา 04:19-04:21น. อีกเช่นกันเเละภายหลังจากเรือจมลงก็พบผู้รอดชีวิตเพียง 10 คนจากลูกเรือทั้งหมด 1,636 คนเท่านั้น

ขอขอบคุณบทความจาก : https://en.wikipedia.org/wiki/Fusō-class_battleship

Ko-hyoteki class midget submarine Type D (Koryu)


ซากของเรือดำน้ำจิ๋ว มิดเจ็ท ไทป์ ดี (โคเรียว) ภายในอู่เเห้งที่ฐานทัพเรือคุเระ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ของปีค.ศ.1946 

Cr.: http://www.ibiblio.org/hyperwar/OnlineLibrary/photos/images/kf00001/kf06023.jpg

///////// @Tao /////////

USS Texas (BB-35)


ภาพถ่ายร่วมกันของลูกเรือ บนป้อมปืน 14นิ้ว ของเรือประจัญบานเเบบเดรดนอจ์ท ยูเอสเอส เทกซัส (บีบี-35) เเห่งกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา ในช่วงปีค.ศ.1918 ไม่ทราบสถานที่ของภาพ

Cr. https://goo.gl/LhXhpv

@Hata//