Japanese battleship Nagato


ป้อมปืนหลักขนาด 41ซม./ขนาดลำกล้อง 45 แบบ 3rd Year ของเรือประจัญบานนางาโตะ ไม่ทราบช่วงเวลาของภาพ

รูปต้นฉบับ : http://www.navweaps.com/Weapons/WNJAP_161-45_3ns_Nagato_bow_pic.jpg

@Hata//

Rattanakosin-class gunboats


เรือหลวงชุดรัตนโกสินทร์ (Rattanakosin-class gunboats)

ซึ่งเป็นประเภทเรือปืนเบา ที่เป็นลำเเรกของเรือหลวงในชุดรัตนโกสินทร์ ส่วนลำที่สองคือเรือหลวงสุโขทัย เรือถูกต่อที่อู่ของบริษัทอาร์มสตรอง ที่เอส์วิค ในประเทศอังกฤษ โดยมีพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเจิมเรือ

เรือหลวงรัตนโกสินทร์ได้เริ่มทำการวางกระดูกงูในวันที่ 29 กันยายน ค.ศ.1924 เเละทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำในวันที่ 21 เมษายน ค.ศ.1925 ทำการขึ้นระวางประจำการในวันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ.1925 ส่วนเรือหลวงสุโขทัยได้เริ่มทำการวางกระดูกงูในปีค.ศ.1928 เเละทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำในวันที่19 พฤศจิกายน ค.ศ.1929 ทำการขึ้นระวางประจำการในช่วงเดือนธันวาคม ค.ศ.1930

เรือหลวงในชุดรัตนโกสินทร์ ได้ผ่านช่วงเหตุการณ์สำคัญๆในประวัติศาสตร์เช่น 


ในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง ค.ศ.1932 หลวงศุภชลาสัยได้รับมอบหมายจากคณะผู้ก่อการให้นำหนังสือกราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ให้ทรงเสด็จกลับมาเป็นประมุขของประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยหลวงศุภชลาสัยได้เดินทางด้วยเรือหลวงสุโขทัยไปยังพระราชวังไกลกังวลซึ่งตอนนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ทรงประทับอยู่ ซึ่งหลวงศุภชลาศัยก็ให้เรือจอดห่างจากชายฝั่งโดยสั่งให้เรือหันปืนทุกกระบอกไปยังพระราชวังไกลกังวลพร้อมที่จะระดมยิงเข้าใส่ แล้วก็มีการสั่งไว้ว่าหากไม่เห็นสัญญาณตามเวลานัดหมายให้ระดมยิงเข้าใส่พระราชวังไกลกังวลทันทีโดยไม่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของตัวหลวงศุภชลาศัยหรือผู้ใดทั้งสิ้น แล้วจึงถือหนังสือไปกับเรือบดถึงชายฝั่งทหารผู้บัญชาการฝ่ายวังที่อยู่ตรงนั้นให้ทหารจับตัวหลวงศุภชลาศัยโดยหลวงศุภชลาศัยได้ชี้แจงว่ามาในนามทูตฝ่ายคณะราษฎรเพื่อนำหนังสือทูลเกล้าถวาย โดยทหารคนดังกล่าวไม่ยอม หลวงศุภชลาศัยจึงให้ทหารคนดังกล่าวส่องกล้องเพื่อมองที่เรือที่หันปืนใหญ่มาที่วังโดยขู่ด้วยว่าไม่มีปืนที่วังกระบอกไหนที่จะสามารถยิงถึงเรือหลวงสุโขทัย ในขณะที่ปืนจากเรือสามารถยิงมาถึงที่วังนี้ได้ จึงยอมให้หลวงศุภชลาศัยเข้าเฝ้า เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ได้ทรงทอดพระเนตรลายมือของกรมพระนครสวรรค์ฯ ที่ได้ลงนามมากับหนังสือดังกล่าว จึงทรงยอมเสด็จกลับไปกับหลวงศุภชลาศัยโดยทีแรกจะให้เสด็จกลับทางเรือ แต่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ได้ปฎิเสธเเละเรียกร้องให้ทางคณะราษฎรจัดรถไฟมารับเสด็จเเทน หลวงศุภชลาศัยจึงโทรเลขกลับมาที่กรุงเทพ พระยาพหลฯ ก็มีหนังสือกลับมาว่าจะส่งรถไฟพระที่นั่งมาที่สถานีหัวหินพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7)จึงทรงยอมเสด็จกลับพระนคร


ที่รวมไปถึงช่วงกรณีพิพาทระหว่างไทย - อินโดจีนฝรั่งเศส ค.ศ.1940-1941 เเละยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์การเมืองไทยในกรณีกบฏแมนฮัตตัน ค.ศ.1951 รวมไปจนถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่สองเเละในช่วงสงครามอินโดจีน ที่นับจากวันขึ้นระวางประจำการรับใช้กองทัพเรือรวมเป็นเวลากว่า 40 ปี จนกระทั่งท้ายที่สุดเรือหลวงชุดรัตนโกสินทร์ที่ไม่ทราบว่าถูกปลดระวาง ถูกทำลาย หรือถูกขายเป็นเศษเหล็กไปในวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ.1967 เเละเรือหลวงสุโขทัย ไปในปีค.ศ.1971 ที่นับว่าเป็นเรือรบของไทยที่หาข้อมูลได้ยากมากอีกลำนึ

ลักษณะเฉพาะ
ระวางขับน้ำ: 886 ตัน เต็มที่ 1,000 ตัน
ความยาว: 53.04 เมตร
ความกว้าง: 11.3 เมตร
กินน้ำลึก: 3.28 เมตร
เครื่องยนต์: เเบบเครื่องจักรไอน้ำ 2 เครื่อง หม้อน้ำ 2 หม้อ 850 เเรงม้า 2 ใบจักร
ความเร็ว: 12 นอต
ระยะทางเชื้อเพลิง: 2,000 ไมล์ทะเลที่ความเร็ว 10 นอต
อัตราเต็มที่: 103 นาย
ยุทโธปกรณ์:
• 2 × 152 มม. 2 กระบอก (2 × 1)
• 4 × 76.2 มม. 4 กระบอก (4 × 1)
เกราะ:
• ด้านข้าง 63.5 มม.
• ดาดฟ้าเรือ 38 มม.
• ป้อมปืนหลัก 63.5 มม.
• หอบังคับการ 63.5 มม.

อ้างอิงข้อมูลจาก: http://cs.wikipedia.org/wiki/Třída_Ratanakosindra

เป็นภาพของเรือหลวงรัตนโกสินทร์ ในช่วงของปีค.ศ.1925

ภาพขาวดำต้นฉบับก่อนนำมาลงสีจาก :http://i57.fastpic.ru/big/2013/1020/0e/2b57e5abdc2db079b6e5be9f4be7fd0e.jpg

///////// @Tao /////////



Japanese aircraft carrier Zuiho


เรือบรรทุกเครื่องบินเบาซุยโฮว ที่บริเวณฐานทัพเรือโยโกสึกะ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม ค.ศ.1940

Cr.: http://www.geocities.jp/tokugawa_navy/C-zuihou.jpg

Takao-class heavy cruisers (高雄型重巡洋艦)


เรือลาดตระเวนหนักชั้นทาคาโอะ (Takao-class Heavy cruiser) @Hata//

ทาคาโอะคือเรือลาดตระเวนหนักลำดับเเรกในชั้นทาคาโอะ ถูกใช้งานโดยกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นเรือลาดตระเวนที่ทันสมัยที่สุดในกองเรือญี่ปุ่น เรือเหล่านี้รวดเร็ว สมรรถภาพสูง และติดตั้งด้วยอาวุธหนัก เเละมีอำนาจการยิงมากพอที่จะต่อกรกับเรือลาดตระเวนลำอื่นๆในโลก เรือพี่น้องคือ อะตาโกะ มายะ เเละ โชไค

เรือลาดตระเวนหนักชั้นทาคาโอะถูกปรับปรุงของก่อนหน้าเรือลาดตระเวนหนักชั้นเมียวโค โดยผสมผสานองค์ประกอบทางเทคนิคที่ได้เรียนรู้กับการพัฒนาจากเรือลาดตระเวนเบายูบาริเเละแบบเเปลนจากเรือลาดตระเวนหนักชั้นเมียวโค. โดยมีความโดดเด่นด้วยรายละเอียดที่มีขนาดใหญ่. เรือลาดตระเวนหนักชั้นทาคาโอะมีเกราะที่หนา ปืนหลักวัตถุประสงค์คู่สำหรับใช้ต่อต้านอากาศยาน และท่อยิงตอร์ปิโดถูกย้ายไปอยู่บนดาดฟ้าเรือเพื่อความปลอดภัย

เรือลาดตระเวนหนักชั้นทาคาโอะมีระวางขับน้ำ 16,875 ตัน ,มีความยาว 203.8 เมตร , ความกว้าง 20.4 เมตร, กินน้ำลึก 6.32 เมตร เเละสามารถทำความเร็วได้ 35.25 น้อต. ส่งกำลังโดยหม้อน้ำ Kampon 12 ใบ ขับเคลื่อนเครื่องยนต์กังหันเทอร์ไบน์ 4 ชุดส่งกำลังไปยังเพลาขับ 4 เพลาหมุนใบพัดแบบ 3 ใบพัด เรือมีเกราะข้างเรือหนา 127มม. ดาดฟ้าเรือหนา 35มม. สะพานเรือหุ้มเเผ่นเกราะหนา 10 ถึง 16 มม.

เรือลาดตระเวนหนักทาคาโอะติดตั้งปืนหลักขนาด 20 ซม./ ขนาดลำกล้อง 50 (8 นิ้ว") แบบ 3rd Year ซึ่งเป็นอาวุธหนักที่สุดในบรรดาเรือลาดตระเวนหนักลำอื่นๆของโลกในเวลานั้น โดยติดตั้งจำนวน 10 กระบอก ป้อมละ 2 กระบอก จำนวน 5 ป้อม อาวุธรองคือปืนมุมสูงขนาด 12ซม. /ขนาดลำกล้อง 45 (4.7 นิ้ว) แบบ 10th Year ลำกล้องคู่ 4 ป้อมด้านข้างเรือ เเละท่อยิงตอร์ปิโดขนาด 61ซม. แบบ Type 90

ทาคาโอะขาดความสามารถในการต่อต้านอากาศยานอย่างมาก ในขณะนั้นมีปืนต่อต้านอากาศยานขนาด 40มม. เพียงเเค่ 2 กระบอก ทาคาโอะได้ถูกนำไปปรับปรุงเพื่อตอบโต้ภัยคุกคามของการโจมตีทางอากาศที่เพิ่มขึ้น โดยการปรับปรุงรอบสุดท้าย ทาคาโอะได้รับการติดตั้งปืนหลักขนาด 20 ซม./ ขนาดลำกล้อง 50 (8 นิ้ว") แบบ 3rd Year จำนวน 10 กระบอก 5 ป้อม ปืนต่อต้านอากาศยานขนาด 12.7ซม./ ขนาดลำกล้อง 40 (5 นิ้ว) แบบ Type 89 จำนวน 8 ป้อม ข้างละ 4 ป้อม เเละ ท่อยิงตอร์ปิโดขนาด 61ซม. แบบ Type 93 พร้อมทั้งการป้องกันการโจมตีของอากาศยาน โดยจะติดตั้งปืนต่อต้านอากาศ ขนาด 25มม. แบบ Type 96 จำนวน 24 ป้อม ป้อมละ 3 กระบอก ป้อมลำกล้องคู่อีก 12 ป้อม เเละป้อมลำกล้องเดี่ยวอีก 26 ป้อม เเละปืนกล 13.2มม. 4 กระบอก

- - - - - - -
ทาคาโอะได้เข้าร่วมในการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ เเละ สนับสนุนการยกพลขึ้นบกที่อ่าว Lingayen บริเวณเกาะ Luzon ประเทศฟิลิปปินส์

ในมิถุนายน ปี 1942 ทาคาโอะเเละมายะ เข้าร่วมในการสนับสนุนการรุกรานหมู่เกาะ Aleutian เพื่อคุ้มกันขบวนเรือที่เกาะ Kiska เเละ เข้าร่วมการยิงสนับสนุนในการยกพลขึ้นบกที่เกาะ Attu

ในสิงหาคม ปี 1942 ทาคาโอะ ได้รับมอบหมายใน ปฏิบัติการ Ka (Operation Ka) ญี่ปุ่นได้เสริมกำลังรบในสรภูมิที่เกาะ Guadalcanal. เเละได้ออกเดินทางไปที่เกาะ Hashira. กับ อาตาโกะเเละมายะ

ในวันที่ 24 สิงหาคม ทั้งหมดได้เข้าร่วมสมรภูมิทางทิศตะวันออกของหมู่เกาะโซโลมอน ( Battle of the Eastern Solomons ) จากระยะไกลและไม่มีการต่อสู้.

อย่างไรก็ตาม วันที่ 26 ตุลาคม ยุทธนาวีเกาะซานตาครูซ ( Battle of the Santa Cruz Islands ) เรือลาดตระเวนหนักชั่นทาคาโอะทั้งสามลำ พร้อมกับเรือลาดตระเวณหนักเมียวโค ,ฮากุโระ ได้เข้าร่วมศึกกลางคืน เป็นผลทำให้สามารถจมเรือบรรทุกเครื่องบิน ยูเอสเอส ฮอร์เน็ต (CV-8)

ซึ่งตามมาด้วยการพยายามเเย่งชิงสนามบิน Henderson Field ของสหรัฐคืน ซึ่งนำไปสู่ ยุทธนาวีหมู่เกาะ Guadalcanal ในเวลาต่อมา. ในช่วงเช้าวันที่ 15 พฤศจิกายน ปี 1942 เรือประจัญบานคิริชิมะที่สนับสนุนโดยเรือลาดตระเวนหนักทาคาโอะเเละอะตาโกะ ได้เข้าปะทะกับเรือประจัญบานสหรัฐ ยูเอสเอส วอชิงตัน เเละ ยูเอสเอส เซาท์ดาโคตา เรือรบญี่ปุ่นทั้งสามลำยิงถล่ม
ยูเอสเอสเซาท์ดาโคตา อย่างหนักจำนวนหลายครั้ง จนทำให้ระบบเรดาร์เเละระบบควบคุมการยิงเสียหาย

เรือลาดตระเวนหนักทาคาโอะเเละอะตาโกะได้ยิงตอร์ปิโดหอกยาวหรือตอร์ปิโดแบบ Type 93 ไปที่ เรือประจัญบาน ยูเอสเอส วอชิงตัน ทั้งหมดพลาดเป้า ต่อมาเรือประจัญบานคิริชิมะถูกเรือประจัญบาน ยูเอสเอส วอชิงตัน จมลงในเวลาไม่กี่ชั่วโมง. อะตาโกะได้รับความเสียหาย ส่วนทาคาโอะสามารถหนีออกมาได้โดยไม่ได้รับอันตราย เเต่ทั้งหมดถูกบังคับให้ต้องล่าถอยกลับไปที่ Truk Lagoon และจากนั้นก็กลับไปที่ฐานทัพเรือที่ Kure เพื่อซ่อมแซม เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนก่อนที่จะกลับไปที่ Truk Lagoon อีกครั้งในช่วงปลายเดือนธันวาคม.

ในช่วงต้นปี 1943 เรือลาดตระเวนหนักทาคาโอะได้สนับสนุนการอพยพกองกำลังญีปุ่นออกจากเกาะ Guadalcanal. กองกำลังนี้ประกอบไปด้วยเรือบรรทุกเครื่องบิน ซุยคาคุ, ซุยโฮ เเละ จุนโย, เรือประจัญบาน คองโก เเละ ฮารุนะ. เรือลาดตระเวนหนัก อะตาโกะ ทาคาโอะ เมียวโค เเละ ฮากุโระ. เรือลาดตระเวนเบา นาการะ เเละ อากาโนะ เเละ เรือพิฆาตอีก 11 ลำ การเคลื่อนย้ายทหาร 11,700 นายออกจากเกาะประสบความสำเร็จ

ภายใต้คำสั่งของกัปตัน Inoguchi Toshihira ให้เรือลาดตระเวนหนักทาคาโอะเข้าร่วมในยุทธการต่างๆในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลาง จากฐานที่ Truk Lagoon ทาคาโอะกลับไปที่ฐานทัพเรือที่ Yokosuka ในวันที่ 26 กรกฎาคม เพื่อติดตั้งปืนต่อต้านอากาศยานเพิ่มเติม. หลังจากที่กลับไป Truk Lagoon ในวันที่ 23 สิงหาคม ทาคาโอะได้เดินทางต่อไปที่ Rabaul ในวันที่ 27 สิงหาคม เพื่อนำทหารเเละอุปกรณ์ขึ้นฝั่ง.

เพื่อตอบสนองการโจมตีของเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐที่หมู่เกาะ Gilbert เรือลาดตระเวนหนักทาคาโอะกับกองเรือของ พลเรือโท Jisaburō Ozawa ได้เตรียมบุกเข้าปะทะกับเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐ กองเรือนี้ประกอบไปด้วย
เรือบรรทุกเครื่องบิน โชวคาคุ ซุยคาคุ เเละ ซุยโฮ เรือประจัญบาน ยามาโตะ เเละ นางาโตะ. เรือลาดตระเวนหนัก เมียวโค ฮากุโระ โทเนะ ชิคุมะ โมกามิ อะตาโกะ ทาคาโอะ โชไค เเละ มายะ. เรือลาดตระเวนเบาอากาโนะ เเละ เรือพิฆาตอีก 15 ลำ แม้จะมีการค้นหาในบริเวณกว้าง กองกำลังนี้ล้มเหลวในการค้นหากองกำลังโจมตีของสหรัฐ เเละต่อมาได้เดินทางกลับไป Truk Lagoon

เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน ปี 1943 เรือลาดตระเวนหนักทาคาโอะ ขณะที่เติมเชื้อเพลิงอยู่ที่ Rabaul ทาคาโอะถูกโจมตีจากเครื่องบินดำดิ่งทิ้งระเบิดแบบ SBD Dauntless จากเรือบรรทุกเครื่องบืน ยูเอสเอส ซาราโตกา.
ทาคาโอะถูกระเบิดจำนวนสองลูก ทำให้ลูกเรือบริเวณนั้นเสียชีวิตจำนวน 23 นาย เเละ การระเบิดส่งผลให้ส่วนควบคุมหางเสือเสียหาย

ทาคาโอะกลับไปที่ฐานทัพเรือที่ Yokosuka เพื่อซ่อมเเซมในอู่เเห้ง ในระหว่างการซ่อมแซม ทาคาโอะได้รับติดตั้งปืนต่อต้านอากาศยานเพิ่มเติม เเละเรดาร์อากาศแบบ Type 21 ซ่อมแซมไม่เสร็จสมบูรณ์ จนกระทั่งวันที่ 18 มกราคม ปี 1944

ทาคาโอะ ได้รับมอบหมายให้กับพลเรือโท Jisaburō Ozawa เข้าร่วมกองเรือที 1st Mobile Fleet จากฐานที่ Palau ตั้งแต่ 1 มีนาคม และถูกส่งไปประจำที่ Davao ประเทศฟิลิปปินส์ตอนใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ทาคาโอะ ถูกโจมตีโดยเรือดำน้ำสหรัฐ ยูเอสเอส Dace (SS-247) เมื่อวันที่ 6 เมษายน ตอปิโดทั้งหมดนั้นพลาดเป้า ในวันที่13 มิถุนายน ขณะทำการรบที่ทะเลฟิลิปปินส์ ( Battle of the Philippine Sea ) ทาคาโอะ เป็นส่วนหนึ่งของ กองเรือของ พลเรือโท Takeo Kurita ที่มาจากเกาะ Tawi Tawi ความพยายามเข้าโจมตีกองเรือที่ 5 ของสหรัฐ ในการสู้รบที่เเตกหักบริเวณเกาะไซปัน ฝ่ายสหรัฐเรียกมันว่า Great Mariana's Turkey Shoot เครื่องบินรบญี่ปุ่นได้เข้าโจมตีกองกำลังที่ 58 ของสหรัฐ บริเวณเกาะไซปันได้ประสบความสูญเสียหนัก.

ในวันที่ 26 มิถุนายน ทาคาโอะได้กลับไปที่ ฐานทัพเรือที่ Kure อีกครั้ง เพื่อ ติดตั้งปืนต่อต้านอากาศยานเพิ่มเติม เเละเรดาร์ค้นหาทางอากาศแบบ Type 13

ทาคาโอะ กลับไปที่ สิงคโปร์ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคมและเข้าร่วมในยุทธการต่างๆในสิงคโปรและบรูไนจนถึงกลางเดือนตุลาคม วันที่ 22 ตุลาคม ทาคาโอะ ได้รับมอบหมายให้กับ พลเรือเอก Kurita เป็นกองกำลังหลัก (Centre Force) สำหรับการรบที่อ่าว Leyte (Battle of Leyte Gulf)

หลังจากนั้น ในระหว่างการรบที่ Palawan Passage ในวันที่ 23 ตุลาคม ในขณะที่ ทาคาโอะกำลังแล่นผ่านเกาะ Palawan ได้ถูกโจมตีโดยตอร์ปิโด 2 ลูกจากเรือดำน้ำ ยูเอสเอส Darter ซึ่งทำให้เพลาเรือ 2 แท่งเสียหาย ดาดฟ้าท้ายเรือเสียหาย เเละ ห้องหม้อไอน้ำสามห้องถูกน้ำท่วม อะตาโกะเเละมายะ ทั้งสองลำจมลงในการโจมตีครั้งนี้ ทาคาโอะเเล่นกลับฐานที่บรูไน คุ้มกันโดยเรือพิฆาต นากานามิ เเละ อาซาชิโมะ เรือตอร์ปิโด ฮิโยโดริ เเละ เรือขนส่ง มิทซึมารุ เเละ ถึงสิงคโปร์ในวันที่ 12 พฤศจิกายน

ที่ประเทศสิงคโปร์ ทาคาโอะได้รับการประเมินว่าได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก การพิจารณาในการส่งทาคะโอะกลับไปซ่อมแซมอย่างเต็มรูปแบบที่ประเทศญี่ปุ่นโดยเร็วนั้นเป็นไปไม่ได้. ทาคาโอะถูกทำให้จอดนิ่งติดกับซากเรือของเรือลาดตระเวนหนักเมียวโค เพื่อเป็นป้อมปืนต่อต้านอากาศยานลอยน้ำเพื่อป้องกันฐานทัพเรือที่ Seletar.

กองทัพเรืออังกฤษเริ่มปฏิบัติการ Struggle เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม ปี 1945 โดยใช้เรือดำน้ำขนาดเล็ก HMS XE3 บัญชาการโดย เรือโท Ian Edward Fraser เเละ พลทหาร James Joseph Magennis เพื่อพยายามที่จะจมเรือทั้งสองลำนั่น.

พลทหาร Magennis ได้ติดกับระเบิดแบบ limpet จำนวน 6 ลูกที่ท้องเรือของทาคาโอะ เมื่อกับระเบิดได้ระเบิดขึ้น ทำให้เกิดรูขนาด 20เมตร เเรงระเบิดทำให้ป้อมปืนบางส่วนใช้การไม่ได้ กล้องวัดระยะถูกทำลายเเละทำให้เกิดน้ำท่วมในบางห้อง เเต่ไม่สามารถทำให้เรือจมลงได้. Fraser เเละ Magennis ได้รับเหรียญ Victoria Cross จากการกระทำครั้งนั้น.

ต่อมาญี่ปุ่นได้ยอมเเพ้ต่ออังกฤษที่ฐานทัพเรือ Seletar เมื่อวันที่ 21 กันยายน 1945. เรือลาดตระเวนหนักทาคาโอะได้ถูกลากไปที่ช่องแคบมะละกา เพื่อเป็นเป้าซ้อมยิงเเละได้จมลงในวันที่ 19 ตุลาคม ปี 1946 โดยเรือ HMS Newfoundland . ทาคาโอะ ถูกลบออกจากรายชื่อกองทัพเรือในวันที่ 3 พฤษภาคม ปี 1947.

เพิ่มเติม https://en.wikipedia.org/wiki/Japanese_cruiser_Takao_(1930)

@Hata// ผิดพลาดตรงไหน ขออภัยด้วยนะครับ

เรือลาดตระเวนหนักทาคาโอะ ขณะทำการเเล้วทดสอบด้วยความเร็วสูงสุด ที่ทาเทยามะ ในช่วงของปีค.ศ.1932












Japanese destroyer Sagiri 狭霧 (駆逐艦)


เรือพิฆาตซางิริ ขณะจอดเทียบท่า ในช่วงของปีค.ศ. 1940

ภาพต้นฉบับ https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/6/68/Sagiri2.jpg

@Hata//

Japanese battleship Nagato firing her main armament 長門 (戦艦) 1936



เรือประจัญบานนางาโตะ (Japanese battleship Nagato)

ซึ่งเป็นเรือที่ได้รับการตั้งชื่อตามชื่อของจังหวัดนางาโตะ ที่ได้ถูกสั่งต่อในวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ.1916 เเละได้เริ่มวางกระดูกงูเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ.1917 เเละได้ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำโดยกัปตัน คาโตะ โทโมะซาบุโระ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ.1919 จนกระทั่งเรือสร้างเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ.1920 เเละได้ทำการขึ้นระวางในอีก10 วันต่อมา

นางาโตะเป็นเรือประจัญบานในเเบบเดรดนอจ์ทที่เคยได้เป็น 1 ใน 7 (บิ๊ก7) ของเรือประจัญบานที่ใหญ่ที่สุดในโลกเเห่งกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงทศวรรษที่1910 เเละเป็นเรือลำเเรกของชั้นที่ตามมาด้วยเรือประจัญบานมุทสึอีกหนึ่งลำ โดยภารกิจเเรกของนางาโตะคือการได้มีส่วนร่วมในการลำเลียงสิ่งของบรรเทาทุกข์สำหรับการช่วยเหลือผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์เเผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่คันโต ในปีค.ศ.1923

ซึ่งในเวลาต่อมานางาโตะก็ได้รับการปรับปรุงขนานใหญ่ ในช่วงระหว่างปีค.ศ.1934-1936 ด้วยการเพิ่มสมรรถนะในส่วนของอาวุธ เกราะ เเละเครื่องยนต์ ที่รวมไปถึงการต่อเติมในส่วนของสะพานเดินเรือใหม่ให้เป็นสถาปัตยกรรมทรงหอเจดีย์ในเเบบของประเทศจีน

นางาโตะได้มีส่วนร่วมในช่วงเวลาสั้นๆในสงครามจีนญี่ปุ่นครั้งที่สองในปีค.ศ.1937 จนกระทั่งได้มาทำหน้าที่เป็นเรือธงของพลเรือเอก อิโซโรกุ ยามาโมโตะ ในช่วงระหว่างการเข้าโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ โดยทำหน้าที่เป็นเพียงเรือคุ้มกันกองเรือบบรรทุกเครื่องบินที่เข้าโจมตีจนกระทั่งถอนกำลัง โดยนางาโตะไม่ได้มีส่วนร่วมโดยตรงในการโจมตีเเต่อย่างใ

นอกจากนี้ นางาโตะยังได้มีส่วนร่วมในยุทธนาวีที่มิดเวย์ในช่วงเดือนมิถุนายน ของปีค.ศ.1942 เเต่นางาโตะก็ไม่ได้เข้าปะทะกับฝ่ายข้าศึกเเต่อย่างใค โดยนางาโตะจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในช่วงสองปีเเรกของสงครามแปซิฟิกด้วยการซ้อมรบในน่านน้ำของตนเอง จนกระทั่งนางาโตะได้เดินทางไปยังทรัคในช่วงกลางๆปีค.ศ.1943 แต่นางาโตะก็ไม่ได้เข้าร่วมรบเเต่อย่างใด จนมาถึงในยุทธนาวีที่ทะเลฟิลิปปินที่อยู่ในช่วงกลางๆปีค.ศ.1944 นางาโตะก็มาถูกโจมตีโดยเครื่องบินของสหรัฐฯ เเต่นางาโตะเองก็ยังไม่ได้ทำการโจมตีด้วยหมู่ปืนหลักกับเรือรบของฝ่ายข้าศึกเลยซักครั้ง จนมาถึงในยุทธนาวีที่อ่าวเลย์เตในช่วงเดือนตุลาคม ของปีค.ศ.1944 ที่ทำให้นางาโตะได้รับความเสียหายเพียงเล็กน้อยจากศึกในครั้งนี้ และก็ได้เดินทางกลับไปยังญี่ปุ่นในเดือนต่อมา

ในช่วงท้ายๆของสงครามโลกครั้งที่สองจักรวรรดิญี่ปุ่นได้ประสบปัญหาจากการขาดเเคลนเชื้อเพลิงอย่างหนัก ที่เป็นเหตุให้ทางกองทัพจึงได้ตัดสินใจที่จะไม่ทำการซ่อมแซมเรือลำนี้อีกต่อไป นางาโตะจึงได้ถูกดัดแปลงให้เป็นฐานยิงปืนต่อต้านอากาศยานลอยน้ำ โดยทำหน้าที่เป็นฐานป้องกันตามเเนวชายฝั่งของญี่ปุ่น จนกระทั่งนางาโตะมาถูกโจมตีอีกครั้งในช่วงเดือนกรกฎาคม ของปีค.ศ.1945 ที่เป็นส่วนหนึ่งของเเผนการที่จะทำลายเรือหลวงของจักรวรรดิญี่ปุ่นที่เหลือเป็นลำสุดท้าย แต่นางาโตะก็กลับได้รับความเสียหายจากการโจมตีเเค่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

จนกระทั่งท้ายที่สุดภายหลังจากจักรวรรดิญี่ปุ่นยอมจำนน นางาโตะก็ได้ถูกนำไปเป็นเป้าในการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ในปฏิบัติการครอสโรดส์ ที่บิกีนีอะทอลล์ โดยภายหลังจากการทดสอบครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ.1946 ตัวเรือได้รับความเสียหายเพียงเล็กน้อยเเละยังไม่จม เเละถูกทดสอบอีกครั้งในวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ.1946 ที่ส่งผลให้เรือเกิดการเอียงจนกระทั่งจมลงในช่วงระหว่างคืนของวันที่ 29-30 กรกฎาคม ค.ศ.1946 ที่เป็นการปิดฉากตำนานของเรือประจัญบานลำสุดท้ายของจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง




เรือประจัญบานนางาโตะ ขณะทำการยิงด้วยหมู่ปืนหลักขนาด 41 ซม. ในช่วงของปีค.ศ.1936

ภาพขาวดำต้นฉบับที่ทางเพจจะนำมาลงสีจาก: http://cdn-live.warthunder.com/uploads/38/23b1fa22c242c5e3cf370a765cca3333bc9775/NagatoFiring1936.jpg

USS Iowa (BB-61)


เรือประจัญบาน ยูเอสเอส ไอโอว่า (บีบี-61) เเห่งกองทัพเรือสหรัฐฯในเเบบลายพราง ขณะกำลังเดินทางเข้าสู่หมู่เกาะปะการังมาจูโร เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1944 ซึ่งเป็นภาพที่ถูกถ่ายจากเรือบรรทุกเครื่องบินคุ้มกัน ยูเอสเอส นาโทม่า เบย์ (ซีวีอี-62)

Cr.: http://i.imgur.com/2o2jTB2.jpg

USS Boise (CL-47)


ภาพถ่ายร่วมกันของเหล่าบรรดาลูกเรือบนดาดฟ้าของเรือลาดตระเวนเบา ยูเอสเอส บอยซี (ซีเอล-47) เเห่งกองทัพเรือสหรัฐฯระหว่างทำการทดสอบเรือ ในช่วงราวๆเดือนตุลาดม ของปีค.ศ.1943

Cr.: http://star77.com/ClevelandShips/images/USS%20Biloxi%20CL-80%20image2.jpg

Russian battleship Gangut "October Revolution"


เรือประจัญบานเกนกุต "ออคโทเบอร์ เรโวลูชั่น" (Russian battleship Gangut "October Revolution")

ที่ได้เป็นเรือลำเเรกของเรือประจัญบานเเบบเดรดนอจ์ทในชั้นเกนกุตเเห่งจักรพรรดินาวีรัสเซีย ตัวเรือถูกสร้างขึ้นในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเเละยังเป็นเรือลำสุดท้ายของชั้นที่สร้างเสร็จสมบูรณ์ โดยได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติเเก่ชัยชนะของกองทัพเรือจักรพรรดินาวีรัสเซียที่มีชัยเหนือกองทัพเรือสวีเดนในยุทธนาวีที่เกนกุตเมื่อปีค.ศ.1714

เกนกุตสร้างเสร็จสมบูรณ์ในระหว่างช่วงฤดูหนาวของปีค.ศ.1914-1915 เเละเข้าประจำการในวันที่ 11 มกราคม ค.ศ.1915 เเต่เรือก็ยังไม่พร้อมที่จะเผชิญหน้ากับศัตรูจนกระทั่งกลางปีค.ศ.1915 เกนกุตก็ได้ร่วมป้องกันการโจมตีจากฝ่ายเยอรมันที่บริเวณปากอ่าวฟินเเลนด์ เเต่เกนกุตก็ไม่ได้กลับไปเข้าร่วมในสงครามใดๆโดยจะใช้เวลาส่วนใหญ่โดยไปกับการเป็นเรือฝึกเเละทำหน้าที่เป็นเรือคุ้มกันในปฏิบัติการวางเเนวทุ่นระเบิด ซึ่งในเวลาต่อมาเหล่าบรรดาลูกเรือก็ได้เข้าร่วมกับกองเรือบอลติกของฝ่ายกบฏภายหลังเหตุการณ์ปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ในรัสเซีย เเละได้เข้าร่วมกับฝ่ายบอลเชวิกในปีค.ศ.1918

ในปีค.ศ.1918 เกนกุตถูกวางให้เป็นกำลังสำรองโดยปราศจากลูกเรือเเละไม่ได้กลับมาเข้าประจำการจนกระทั่งปีค.ศ.1925 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่เกนกุต ได้ถูกเปลี่ยนชื่อไปเป็น ออคโทเบอร์ เรโวลูชั่น (การปฏิวัติเดือนตุลาคมในรัสเซียเมื่อปีค.ศ.1917)

ออคโทเบอร์ เรโวลูชั่น ก็ได้รับการปรับปรุงใหม่ในช่วงระหว่างปีค.ศ.1931-1934 ด้วยการเปลี่ยนหม้อน้ำ เเละระบบควบคุมการยิง รวมถึงในส่วนของสะพานเดินเรือให้มีขนาดที่ใหญ่ขึ้น เเละในช่วงครามฤดูหนาวระหว่างโซเวียต-ฟินแลนด์ ออคโทเบอร์ เรโวลูชั่นได้ทำหน้าที่ระดมยิงเข้าใส่ปืนใหญ่ตามเเนวชายฝั่งของฟินเเลนด์ในช่วงเวลาหนึ่ง ออคโทเบอร์ เรโวลูชั่นได้รับการเสริมประสิทธิภาพในด้านของปืนต่อสู้อากาศยานในช่วงต้นปีค.ศ.1941 ก่อนจะเริ่มปฏิบัติการบาร์บารอสซา

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ออคโทเบอร์ เรโวลูชั่น ได้ทำการยิงสนับสนุนการให้กับฝ่ายกองทัพโซเวียตในขณะที่กองทัพเยอรมันเคลื่อนทัพเข้าสู่เมืองเลนินกราดในวันที่ 8 กันยายน ค.ศ.1941 จนกระทั่งในวันที่ 21 กันยายน ค.ศ.1941 เรือก็ได้รับความเสียหายจากระเบิดจำนวน 3 ลูกเข้าที่บริเวณส่วนหัวของเรือส่งผลให้ป้อมปืนจำนวน 2 ป้อมใช้การไม่ได้ เรือจึงถูกนำกลับไปซ่อมเเซมในวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ.1941 ที่อู่ทหารเรือบอลติก เเละถูกโจมตีทางอากาศจากฝ่ายเยอรมันอีกหลายครั้งจนกระทั่งเรือซ่อมเสร็จสมบูรณ์ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1942 ออคโทเบอร์ เรโวลูชั่นก็ได้กลับไปร่วมสนับสนุนการโจมตีโต้กลับของฝ่ายกองทัพโซเวียตที่เลนินกราดเเละที่วายบอร์กในช่วงต้นปีค.ศ.1944 เเละเรือก็มาได้รับเหรียญกล้าหาญ ออร์เดอร์ ออฟ เดอะ เรด เเบนเนอร์ ในวันที่ 22 กรกฏาคม ค.ศ.1944

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง ออคโทเบอร์ เรโวลูชั่นก็ได้ทำหน้าที่เป็นเรือฝึกตั้งเเต่วันที่ 24 กรกฏาคม ค.ศ.1954 จนกระทั่งถูกถอดรายชื่อออกจากกองทัพเรือในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1956 เเล้วตัวเรือก็มากลายเป็นเศษเหล็กในปีค.ศ.1958

ขอขอบคุณบทความจาก : https://en.wikipedia.org/wiki/Russian_battleship_Gangut_(1911)

เป็นภาพของเรือประจัญบาน ออคโทเบอร์ เรโวลูชั่น (เดิมชื่อ เกนกุต) เเห่งกองทัพเรือสหภาพโซเวียต ภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองในช่วงทศวรรษที่1950

ภาพขาวดำต้นฉบับที่ทางเพจจะนำมาลงสีจาก :http://waralbum.ru/wp-content/uploads/yapb_cache/12.9py38hbiixc8g4gkgs4s0wksg.ejcuplo1l0oo0sk8c40s8osc4.th.jpeg

Russian battleship Petropavlovsk


เรือประจัญบานเปโตรปาฟลอฟส์ก (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น มารัต) เเห่งจักรพรรดินาวีรัสเซียขณะเปิดใช้ระบบของตาข่ายดักตอร์ปิโด ในช่วงของปีค.ศ.1914

Cr.: http://www.ww2incolor.com/d/777708-2/20131010

Italian battleship Giulio Cesare


เรือประจัญบานจูเลียส ซีซาร์ เเห่งกองทัพเรืออิตาลี่ ภายหลังได้รับการปรับปรุงใหม่ ที่ไม่ทราบช่วงเวลาเเละสถานที่ของภาพ

ภาพต้นฉบับที่นำลงสีเเก้ไขใหม่ : http://www.naviearmatori.net/albums/userpics/10024/nave_da_battaglia_Giulio_Cesare.jpg

USS Bogue (CVE-9)


ภาพบรรยากาศยามเย็นบนดาดฟ้าของเรือบรรทุกเครื่องบินคุ้มกัน ยูเอสเอส เบิ๊ร์ก (ซีวีอี-9) เเห่งกองทัพเรือสหรัฐฯ ในช่วงของปีค.ศ.1945

Cr.: http://waralbum.ru/wp-content/uploads/yapb_cache/13.6133nw1bznwoossg0k048owgs.ejcuplo1l0oo0sk8c40s8osc4.th.jpeg

USS Alaska (CB-1)


เรือลาดตระเวณขนาดใหญ่ ยูเอสเอส อะแลสก้า (ซีบี-1) เเห่งกองทัพเรือสหรัฐฯในเเบบลายพราง ซึ่งเป็นภาพที่ถ่ายจากเรือประจัญบาน ยูเอสเอส มิสซูรี่ (บีบี-63) ในช่วงฤดูร้อนของปีค.ศ.1944

Cr.: http://www.modelwarships.com/features/archives/alaska/k05583.jpg

USS Enterprise (CV-6)


เรือบรรทุกเครื่องบิน ยูเอสเอส เอนเทอร์ไพรซ์ (ซีวี-6) เเห่งกองทัพเรือสหรัฐฯ ที่บริเวณท่าเรือนิวยอร์ก ภายหลังเดินทางกลับมาจากมหาสมุทรแปซิฟิก เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ.1945

Cr.: https://s-media-cache-ak0.pinimg.com/736x/d7/ff/f0/d7fff07825282ab8ea74f8756b570f0b.jpg

German cruiser Admiral Hipper


เรือลาดตระเวนหนัก เเอดมิรัล ฮิปเปอร์ เเห่งกองทัพเรือนาซีเยอรมันในเเบบลายพราง ที่เมืองแบร็สต์ ในช่วงของปีค.ศ.1940

Cr.: http://www.ww2incolor.com/d/594786-6/20110712