Japanese battleship Fuso 扶桑 (戦艦)


เรือประจัญบานฟุโซว ในขณะกำลังทำการปรับปรุงต่อเติมในครั้งที่หนึ่ง ภายในอู่เเห้งที่ฐานทัพเรือคุเระ เมื่อวันที่ 28 เมษายน ค.ศ.1933

ภาพขาวดำต้นฉบับที่ทางเพจนำมาลงสีจาก:http://www.guiping.net/bbs/data/attachment/forum/day_100412/100412160695fcc445b6f2ad84.jpg

Japanese aircraft carrier Akagi


ภาพถ่ายร่วมกันของพลเรือเอก อิโซโรคุ ยามาโมโตะ กับเหล่าบรรดาผู้ที่มีส่วนสำคัญในเเผนการเข้าโจมตีที่เพิร์ลฮาเบอร์ บนดาดฟ้าของเรือบรรทุกเครื่องบินอาคากิ ที่คาดว่าน่าจะเป็นภาพถ่ายที่ระลึกร่วมกันในความสำเร็จภายหลังเสร็จสิ้นจากการโจมตีที่เพิร์ลฮาเบอร์ ในช่วงเดือนธันวาคม ของปีค.ศ.1941

Cr.: http://www.geocities.jp/tokugawa_navy/C-GF.jpg

Japanese aircraft carrier Junyo 隼鷹 (空母) 1945


เรือบรรทุกเครื่องบินเบาจุนโย ที่จอดเคียงคู่อยู่กับเรือดำน้ำ ฮา-102 ที่ฐานทัพเรือซาเซโบะภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 26 กันยายน ค.ศ.1945

Cr.: http://www.geocities.jp/sawatoshi201/JYUNYO1.jpg

Japanese cruiser Sendai 川内 (軽巡洋艦)


เรือลาดตระเวนเบาเซนได (Japanese cruiser Sendai)

ที่ได้รับการตั้งชื่อตามชื่อของเเม่น้ำเซนได ที่อยู่ทางตอนใต้ของเกาะคิวชู โดยที่เซนไดเป็นลำเเรกของชั้นที่ตามมาด้วย จินทสึ นากะ คาโกะ อายาเสะ (ที่ถูกเปลี่ยนเเบบไปเป็นฟุรุทากะ) เเละมินาเสะกับโอโตะนาเสะ (ที่ถูกยกเลิกการก่อสร้าง) โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นเรือธงประจำกองเรือพิฆาตของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น 

เซนไดถูกสร้างเสร็จสมบูรณ์ที่อู่ต่อเรือของบริษัทมิตซูบิชิในเมืองนางาซากิ เมื่อวันที่ 29 เมษายน ค.ศ.1924 เเละได้รับคำสั่งให้ทำหน้าที่ออกลาดตระเวนในทันทีที่เรือสร้างเสร็จที่เเม่น้ำเเยงซีในประเทศจีน โดยที่เซนไดได้มีบทบาทสำคัญในช่วงต้นของสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สองที่เซี่ยงไฮ้ ที่ในเวลาต่อมาเซนไดก็ทำหน้าที่ในการลาดตระเวนคุ้มกันเขตปกครองของญี่ปุ่น ทางตอนใต้ของประเทศจีน จนกระทั่ง....

ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ.1941 เซนไดก็ได้ทำหน้าที่เป็นเรือธงภายใต้การบังคับบัญชาของพลเรือตรี ชินทาโระ ฮาชิโมโตะ เเละในช่วงเวลาเดียวกับการเข้าโจมตีท่าเรือเพิร์ล เซนไดเเละเหล่าเรือพิฆาตที่ประกอบไปด้วย อายานามิ อิโซนามิ ชิกินามิ เเละอุรานามิ ก็ได้มีส่วนร่วมในการบุกเข้าโจมตีที่เเหลมมาลายูเเละสิงคโปร์ในช่วงระหว่างปีค.ศ.1941-1942 เช่นการคุ้มกันกองเรือลำเลียงพลกองพลที่25 ของพลโท โมยูกิ ยามาชิตะ ที่เเหลมมาลายู เเละร่วมระดมยิงเข้าใส่เมืองโกตาบารู เเละเซนไดกับเรือพิฆาตชิรายูกิ ได้ร่วมกันจมเรือพิฆาต เอชเอ็มเอส ธาเนต (เอช29) ที่เอ็นเดา จนกระทั่งในช่วงปลายๆเดือนเมษายน ของปีค.ศ.1942 เซนไดก็ได้เดินทางกลับไปยังฐานทัพเรือซาเซโบะเพื่อทำการซ่อมเเซม

ต่อมาในช่วงยุทธนาวีที่มิดเวย์ ณ วันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ.1942 เซนไดก็ได้เข้าร่วมกับกองเรือผสม ที่ห่างออกไปกว่า 600 ไมล์ทะเลจากกองเรือบรรทุกเครื่องบินของพลเรือโท จูอิจิ นากุโมะ ที่ได้เข้าปะทะกับกองเรือของสหรัฐฯ จนกระทั่งเซนไดเดินทางกลับไปยังฐานทัพเรือคุเระในวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ.1942 โดยที่ไม่ได้มีบทบาทในศึกครั้งนี้เเต่อย่างใค

ในช่วงระหว่างการศึกที่หมู่เกาะโซโลม่อน ณ วันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ.1942 เซนไดก็ได้กลับเข้าไปร่วมกับกองกำลังทางตะวันตกเฉียงใต้ที่พม่าและในการโจมตีโฉบฉวยที่มหาสมุทรอินเดีย จนกระทั่งเเผนการการนี้ถูกยกเลิกอันเนื่องมาจากทางจักรวรรดิญี่ปุ่นประสบปัญหาในเเนวรบที่กัวดาคาแนล เซนไดจึงถูกส่งมาที่มากัสซาร์ ดาเวาและทรัค เพื่อทำหน้าที่คุ้มกันขบวนเรือที่เดินทางไปยังราบวล ช็อตแลนด์ เเละเกาะบู เก้นวิลล์ และในวันที่ 12 กันยายน เซนไดเเละเหล่าเรือพิฆาต ชิกินามิ ฟุบุกิ เเละสึซึคาเซะ ได้ร่วมกันยิงถล่มใส่ฐานบินเฮนเดอสันบนเกาะกัวดาคาแนล โดยที่เซนไดได้เคยถูกยิงจากเรือประจัญบาน ยูเอสเอส วอชิงตัน (บีบี-56) ในช่วงระหว่างยุทธนาวีที่กัวดาคาแนลเเต่เซนไดก็ไม่ได้รับความเสียหายเเต่อย่างใด

ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1943 เซนไดก็ได้กลับมาเข้าร่วมกับกองเรือที่8 ภายใต้การนำของพลเรือโท จูอิจิ มิคาวะ เพื่อทำการลาดตระเวนที่บริเวณเกาะราบวลจนถึงเดือนเมษายนจนกระทั่งเดินทางกลับไปที่ฐานทัพเรือซาเซโบะในช่วงเดือนพฤษภาคม ที่เซนไดได้รับการซ่อมแซมและปรับปรุงด้วยการติดตั้งปืนต่อสู้อากาศยานเเบบเเฝด3 ขนาด 25 มม.และเรดาร์เเบบไทป์21 จนกระทั่งเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ.1943 เซนไดก็ได้เดินทางกลับไปยังทรัค เเละได้ทำหน้าที่คุ้มกันขบวนเรือที่เดินทางไปยังปาปัวนิวกินีและที่ช็อตเเลนด์

กระทั่งท้ายที่สุดในเช้าวันรุ่งขึ้นของวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ.1943 ในยุทธนาวีที่อ่าวออกัสต้ากองทัพเรือญี่ปุ่นได้พยายามที่จะเสริมกำลังไปยังที่เกาะบูเก้นวิลล์ เเต่ก็ได้ถูกกองเรือเฉพาะกิจที่39 ของสหรัฐฯเข้าทำการสกัดกั้น ที่ประกอบไปด้วยเรือลาดตระเวนเบา ยูเอสเอส คลีฟแลนด์ โคลัมเบีย มอนต์เพเลีย และเดนเวอร์ และเรือพิฆาต ยูเอสเอส สแตนลี่ย์ ชาร์ลส์ออสเบิรน แคล็กซ์ตั้น ไดสัน คอนเวิร์ส ฟุท สเปนซ์ และแทตเชอร์ โดยทางฝ่ายกองทัพเรือญี่ปุ่นประกอบไปด้วยเรือลาดตระเวนหนัก เมียวโกะ เเละฮากุโระ เรือลาดตระเวนเบา เซนได เเละอากาโนะ เรือพิฆาต ชิกุเระ ซามิดาเระ ชิราทสึยุ นากานามิ วาคัตสึกิ ฮัตสึคาเซะ อามางิริ ยูงางิ อูซึกิ เเละฟุซึกิ

โดยที่หายนะในศึกนี้เริ่มจากการที่เรือพิฆาตชิกุเระได้สังเกตเห็นเรือพิฆาตของสหรัฐฯในระยะที่ 7,500 หลา ชิกุเระจึงทำการหักทางกราบขวาในทันทีเพื่อทำการยิงจรวจตอร์ปิโดทั้ง 8 ลูกเข้าใส่เรือพิฆาตของสหรัฐฯ ที่ส่งผลให้ เซนไดที่ได้ทำการเปิดกราบขวาเพื่อหลบหลีกการโจมตีจากข้าศึกด้วยเช่นกันก็ได้มาชนเข้ากับเรือพิฆาตชิกุเระ ที่ทำให้เหล่าเรือลาดตระเวนเบาทั้งสี่ลำของสหรัฐฯทำการระดมยิงกระสุนปืนใหญ่ขนาด 6 นิ้วด้วยระบบเรดาห์ที่เเม่นยำในชุดเเรกเข้าใส่ เซนไดกับชิกุเระ ที่ส่งผลให้ เซนไดเกิดเพลิงลุกไหม้จนกระทั่งในเช้าของวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ.1943 เซนไดก็ได้จมลงพร้อมๆกับเรือพิฆาตฮัตสึคาเซะ โดยที่กัปตัน โชจิ พร้อมลูกเรืออีกกว่า 184 นายจมลงไปพร้อมกับเรือ แต่ลูกเรืออีกกว่า 236 นายได้รับการช่วยเหลือจากเรือพิฆาตที่ไม่ทราบว่าเป็นลำใด ที่ในเวลาต่อมามีข้อมูลเพิ่มเติมว่าพลเรือตรี อิจูอิน และลูกเรืออีกกว่า 75 ชีวิตได้รับการช่วยเหลือจากเรือดำน้ำของญี่ปุ่น โระ-104

ที่ในเวลาต่อมาเรือลาดตระเวนเวนเบาเซนไดก็ได้ถูกลบชื่อออกจากเรือรบของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นในวันที่ 5 มกราคม ค.ศ.1944

ลักษณะเฉพาะ
ระวางขับน้ำ: 5,195 ตัน
ความยาว: 152.4 เมตร
ความกว้าง: 14.2 เมตร
กินน้ำลึก: 4.9 เมตร
เครื่องยนต์: 90,000 แรงม้า หม้อน้ำเเบบคัมปง 10 หม้อ 4 เพลา
ความเร็ว: 35.3 นอต
ระยะทางเชื้อเพลิง: 5,000 ไมล์ทะเลที่ความเร็ว 14 นอต
อัตราเต็มที่: 452 นาย
ยุทโธปกรณ์:
หมู่ปืนหลักขนาด 5.5 นิ้ว เเบบเเท่นเดี่ยว 7 เเท่น
ปืนต่อสู้อากาศยานขนาด 80 มม. 2 กระบอก
ตอร์ปิโดขนาด 24 นิ้ว 4 ท่อ
ทุ่นระเบิด 48 ลูก
เกราะ: ด้านข้าง 2.5 นิ้ว ดาดฟ้า 1.1 นิ้ว
อากาศยาน: 1 เครื่อง เเท่นดีด 1 เเท่น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: http://en.wikipedia.org/wiki/Japanese_cruiser_Sendai

เป็นภาพของเรือลาดตระเวนเบาเซนได ในช่วงของปีค.ศ.1923

ภาพที่ถูกนำมาลงสีใหม่จาก:http://www.geocities.jp/tokugawa_navy/C-sendai.jpg

HTMS Chang 712 Ex-USS Lincoln County (LST-898)


เรือหลวงช้าง (HTMS Chang 712 Ex-USS Lincoln County (LST-898)

เรือหลวงช้าง เป็นอดีตเรือลำเลียงเเละยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ ยูเอสเอส ลินคอล์น เคาน์ตี้ (เเอลที่เอส-898) ของสหรัฐฯ ที่มีความกว้างประมาณ 20 เมตร ยาวประมาณ 100–110 เมตร เเละสูงประมาณ 26 เมตร ที่เคยทำหน้าที่สนับสนุนการรบครั้งสำคัญหลายครั้ง ตัวเรือถูกสร้างตั้งแต่ค.ศ.1944 เพื่อเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 จนมาถึงการร่วมสนับสนุนการรบที่เมืองอินชอนในสงครามเกาหลี

หลังจากที่กองทัพสหรัฐส่งมอบให้ประเทศไทยในโครงการความร่วมมือฯ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ.1962 ได้ทำพิธีมอบกันที่เมืองลองบีช รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยฝ่ายไทยมีนาย วิสูตร อรรถยุติ เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน เป็นผู้แทนรัฐบาลไทยรับมอบ

ทางกองทัพเรือได้เปลี่ยนชื่อเรือเป็น “ช้าง” หมายถึงเกาะช้าง จังหวัดตราด ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์การตั้งชื่อเรือของกองทัพเรือไทยที่ใช้ชื่อเกาะสำคัญๆของไทยเป็นชื่อเรือในราชการกองทัพเรือ

เรือหลวงช้าง ได้ปฏิบัติภารกิจครั้งสำคัญๆให้กองทัพเรือไทย เช่น ในช่วงสงครามเวียดนาม เป็นเรือสนับสนุนปฏิบัติการของหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินเป็นฐานปฏิบัติการลอยน้ำ เป็นที่ฝึกของนักเรียนนายเรือหลายรุ่น และเป็นเรือฝึกหลักสูตรสำคัญๆของกองทัพเรืออีกหลายหลักสูตร เรียกได้ว่ารับใช้ราชการมาแล้วอย่างสมเกียรติและสมศักดิ์ศรี

แต่เนื่องจากเป็นเรือขนาดใหญ่ และมีอายุการใช้งานมานานตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ความชำรุดทรุดโทรมเกินการซ่อมบำรุง กองทัพเรือจึงปลดประจำการเมื่อปีค.ศ.2005 และจอดเทียบท่าอยู่ที่อู่ทหารเรือที่จังหวัดสมุทรปรากา

ในปีค.ศ.2012 เรือหลวงช้างก็ได้กลับมาทำหน้าที่ของตนอีกครั้ง แต่ภารกิจในครั้งนี้ไม่ใช่การสู้รบเหมือนในอดีตที่ผ่านมา เเต่เป็นการช่วยฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม โดยทางจังหวัดตราดและองค์กรบริหารจัดการการท่องที่ยวได้รับมอบเรือหลวงช้างจากกองทัพเรือเพื่อใช้เป็นปะการังเทียมในท้องทะเลตราด จึงได้มีการลากจูงเรือหลวงช้างจากจังหวัดสมุทรปราการมายังจังหวัดตราดเพื่อนำไปจมลงสู่ใต้ท้องทะเลที่เกาะช้าง ในโครงการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราชินี วันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ.2012 ตามโครงการ "เรือหลวงช้าง รักษ์ทะเลตราด" เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวใต้ทะเลแห่งใหม่ ฟื้นฟูระบบนิเวศ แหล่งอาศัยของสัตว์ทะเล และเป็นแหล่งอาหารที่สมบูรณ์ของประมงเรือเล็กสืบไป

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: http://www.oknation.net/blog/trathi/2013/07/24/entry-1

ภาพประกอบจาก: http://cdn.dive.info/wiki/7c4cc38f688ca6282e8804f2b9962f70.jpg

Kongo-class battleship (金剛型戦艦)


สี่พี่น้องของเรือประจัญบานในชั้นคงโกว (Kongo-class battleship)

ที่ประกอบไปด้วย คงโกว ฮิเอย์ คิริชิมะ เเละฮารูนะ เดิมทั้งสี่เคยเป็นเรือลาดตระเวนประจัญบานเเห่งกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นที่ถูกสร้างขึ้นในช่วงก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ที่ได้รับการออกแบบโดยสถาปนิกชาวอังกฤษที่ชื่อ จอร์จ เทอร์สตัน ที่ถือว่า คองโกวเป็นเรือหลวงลำสุดท้ายของญี่ปุ่นที่ถูกต่อขึ้นภายนอกประเทศโดยอู่ต่อเรือวิคเกอร์สของอังกฤษโดยคงโกวได้เริ่มวางกระดูกงูในวันที่ 17 มกราคม ค.ศ.1911 ปล่อยเรือลงนำ้ในวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ.1912 เเละถูกสร้างเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ.1913 ส่วนอีกสามลำที่เหลือถูกต่อขึ้นในประเทศญี่ปุ่นคือ

ฮิเอย์ ถูกต่อขึ้นที่ฐานทัพเรือโยโกสึกะ ที่ได้เริ่มวางกระดูกงูในวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ.1911 ปล่อยเรือลงน้ำในวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ.1912 เเละถูกสร้างเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ.1914
คิริชิมะ ถูกต่อขึ้นที่อู่ต่อเรือของบริษัทมิตซูบิชิในเมืองงางาซากิ ที่ได้เริ่มวางกระดูกงูในวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ.1912 ปล่อยเรือลงน้ำในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ.1913 เเละถูกสร้างเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ.1915
ฮารูนะ ถูกต่อขึ้นที่อู่ต่อเรือของบริษัทคาวาซากิในเมืองโกเบ ที่ได้เริ่มวางกระดูกงูในวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ.1912 ปล่อยเรือลงน้ำในวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ.1913 เเละถูกสร้างเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ.1915 ตามลำดับ

ในช่วงปลายทศวรรษที่1920 ทั้งสี่ลำได้รับการปรับปรุงใหม่จนถูกยกระดับขึ้นมาเป็นเรือประจัญบาน เเต่ภายหลังจากญี่ปุ่นได้ลงนามในสนธิสัญญารัฐนาวีกรุงลอนดอนในปีค.ศ.1930 ในส่วนของฮิเอย์ก็ได้เปลี่ยนสถานะมาเป็นเรือฝึกเเละเรือพระที่นั่งเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกทำลายตามเงื่อนไขของสนธิสัญญา ซึ่งในเวลาต่อมาทางญี่ปุ่นก็ได้ถอนตัวออกจากจากสนธิสัญญารัฐนาวีกรุงลอนดอน เรือประจัญบานทั้งสี่ลำก็ได้รับการปรับปรุงขนานใหญ่เป็นครั้งที่สองทั้งในด้านของเครื่องยนต์เเละในส่วนของสะพานเดินเรือที่ได้การต่อเติมให้เป็นเเบบสถาปัตยกรรมเเบบหอเจดีย์จีนรวมถึงการติดตั้งเเท่นดีดเครื่องบินหลังป้อมปืนที่สามในช่วงปลายทศวรรษที่1930 ที่ส่งผลให้เรือประจัญบานทั้งสี่ลำมีความเร็วสูงสุดไม่น้อยกว่า 30 นอต โดยทั้งสี่ลำจึงถูกยกระดับขึ้นมาเป็นเรือประจัญบานเคลื่อนที่เร็ว

เรือประจัญบานในชั้นคงโกวนับว่าเป็นเรือหลวงของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นที่มีบทบาทมากที่สุดในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ที่มีส่วนร่วมในภารกิจครั้งสำคัญๆในช่วงของสงครามดังต่อไปนี้ โดยเริ่มจากฮิเอย์กับคิริชิมะได้ทำหน้าที่เป็นเรือคุ้มกันกองเรือบรรทุกเครื่องบินในช่วงระหว่างการเข้าโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ ในขณะที่คงโกวกับฮารูนะก็ได้เข้าร่วมสนับสนุนในการบุกโจมตีที่มาเลเซียเเละสิงคโปร์ ในเวลาต่อมาทั้งสี่ลำก็ได้ทำหน้าที่คุ้มกันกองเรือบรรทุกเครื่องบินที่เข้าโจมตีหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์ เเละร่วมกันอีกครั้งในยุทธนาวี่ที่มิดเวย์และที่กวาดัลคะแนล กระทั่งฮิเอย์กับคิริชิมะที่อยู่ในระหว่างการรบในยุทธนาวี่ที่กวาดัลคะแนล ฮิเอย์ก็ถูกจมลงด้วยการโจมตีทางอากาศของสหรัฐฯในวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ.1942 เเละคิริชิมะก็จมลงภายหลังจากการเข้าประจัญบานกับ ยูเอสเอส เซาท์ดาโกต้า (บีบี-57) เเละยูเอสเอส วอชิงตัน (บีบี-56) ในวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ.1942 ในขณะที่ฮารูนะกับคงโกวได้ร่วมกันระดมยิงเข้าใส่ฐานบินเฮนเดอร์สันบนเกาะกวาดัลคะแนล ในวันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ.1942

เรือประจัญบานทั้งสองลำที่เหลืออยู่ได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ในปีค.ศ.1943 ด้วยการเดินทางไปมาระหว่างฐานทัพเรือในประเทศญี่ปุ่น ก่อนที่จะเข้าร่วมในยุทธนาวีครั้งสำคัญของปีค.ศ.1944 โดยที่คงโกวกับฮารูนะได้ร่วมกันเข้าเผชิญหน้ากับกองเรือของสหรัฐฯในช่วงระหว่างยุทธนาวีที่อ่าวเลย์เต จนกระทั่งคองโกวได้ถูกจมลงทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะใต้หวันด้วยจรวดตอร์ปิโดจำนวนสองถึงสามลูกจากเรือดำน้ำ ยูเอสเอส ซีไลอ้อน (เอสเอส-315) ในวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ.1944 เเละท้ายที่สุดฮารูนะก็มาจมลงในสภาพนั่งเเท่นด้วยการโจมตีทางอากาศจากกองเรือเฉพาะกิจที่38 ของสหรัฐฯในขณะที่เรือกำลังจอดทอดสมออยู่ที่ฐานทัพเรือคุเระในวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ.1945 เเละได้ถูกขายเป็นเศษเหล็กในปีค.ศ.1946 ที่เป็นการปิดตำนานของสี่เรือประจัญบานที่มีบทบาทมากที่สุดของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

ขอขอบคุณบทความจาก: http://en.wikipedia.org/wiki/Kongō-class_battlecruiser

เป็นภาพถ่ายร่วมกันของสี่พี่น้องเรือประจัญบานเคลื่อนที่เร็วในชั้นคงโกว ทีประกอบไปด้วยเรือประจัญบานคองโกว ฮารูนะ คิริชิมะ เเละ ฮิเอย์ ตามลำดับจากหน้าไปหลัง ที่อยู่ในช่วงระหว่างการเข้าร่วมโจมตีที่มหาสมุทรอินเดีย ในช่วงเดือนเมษายน ของปีค.ศ.1942

ภาพขาวดำต้นฉบับที่ทางเพจนำมาลงสีจาก:http://blogs.c.yimg.jp/res/blog-86-20/piyokkosa1016/folder/508381/37/9701037/img_

USS Saint Paul (CA-73)


เรือลาดตระเวนหนัก ยูเอสเอส เซนต์พอล (ซีเอ-73) เเห่งกองทัพเรือสหรัฐฯ ในขณะกำลังทำการระดมยิงด้วยปืนใหญ่ขนาด 203 มม. เพื่อสนับสนุนกองกำลังภาคพื้นดินที่เวียดนามใต้ ในช่วงเดือนตุลาคม ค.ศ.1966

Cr.: http://www.navsource.org/archives/04/073/0407331.jpg