HTMS Sinsamut


HTMS Sinsamut submarine launching at Mitsubishi Dockyard in Kobe, May 14, 1937.

เรือหลวงสินสมุทร (HTMS Sinsamut) 

ซึ่งเป็นเรือดำน้ำประจำกองทัพเรือไทย เป็นประเภทเรือดำน้ำรักษาฝั่ง ขนาดเล็ก (ระวางขับน้ำต่ำกว่า 500 ตัน) ประกอบขึ้นที่อู่ต่อเรือบริษัทมิตซูบิชิ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น พร้อมกันจำนวน 4 ลำ พร้อมกับ เรือหลวงมัจฉาณุ เรือหลวงวิรุณ และเรือหลวงพลายชุมพล โดยเรือหลวงสินสมุทร ประกอบขึ้นพร้อมกับเรือหลวงพลายชุมพล แต่มีรูปแบบแตกต่างกัน โดยเรือหลวงสินสมุทรมีลักษณะภายนอกเหมือนกับเรือหลวงมัจฉาณุและเรือหลวงวิรุณ ทุกประการ

ชื่อเรือหลวงสินสมุทร เป็นชื่อพระราชทาน มา ณ วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2480 มาจากชื่อตัวละครในวรรณคดีไทยซึ่งมีอิทธิฤทธิ์ในการดำน้ำ คือ สินสมุทร จากเรื่องพระอภัยมณี

เรือหลวงสินสมุทรและเรือหลวงพลายชุมพล ประกอบแล้วเสร็จสมบูรณ์ บริษัทมิตซูบิชิได้ทำพิธีส่งมอบเป็นกรรมสิทธิของกองทัพเรือไทย และนำลูกเรือเข้าประจำเรือ เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2481

เรือดำน้ำของไทยทั้งสี่ลำ เดินทางออกจากเมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2481 ถึงกรุงเทพเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2481 เข้าประจำการเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ได้ออกปฏิบัติการในสงครามอินโดจีนกับฝรั่งเศส และสงครามโลกครั้งที่สอง

เรือหลวงในชั้นมัจฉาณุทั้งหมดถูกปลดประจำการเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 พร้อมกันทั้ง 4 ลำ เนื่องจากขาดแคลนชิ้นส่วนอะไหล่ หลังจากญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามโลก และไม่ได้รับอนุญาตให้ผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ และโรงงานแบตเตอรีของไทยที่ตั้งขึ้นก็ไม่สามารถผลิตแบตเตอรีสำหรับใช้ประจำเรือได้ประกอบกับเหตุการณ์กบฏแมนฮัตตัน เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2494 ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ในกองทัพเรือ มีคำสั่งยุบหมวดเรือดำน้ำ โอนย้ายไปรวมกับหมวดเรือตรวจฝั่งที่ตั้งขึ้นใหม่

ภายหลังปลดประจำการ เรือทั้งสี่ลำได้นำมาจอดเทียบกันที่ท่าเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้กับโรงพยาบาลศิริราช ต่อมาได้มีการขายเรือให้กับบริษัทปูนซีเมนต์ไทย คงเหลือแต่หอบังคับการ อาวุธปืน และกล้องส่อง ทางกองทัพเรือได้นำมาจัดสร้างสะพานเรือจำลอง จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ หน้าโรงเรียนนายเรือ จังหวัดสมุทรปราการ

ข้อมูลจำเพาะ

ระวางขับน้ำ : น้ำหนักบนผิวน้ำ 374.5 ตัน น้ำหนักขณะดำ 430 ตัน
ขนาด : ความยาวตลอดลำ 51 เมตร ความกว้างสุด 4.1 เมตร สูงถึงหลังคาหอเรือ 11.65 เมตร
กินน้ำลึก : กินน้ำลึก 3.6 เมตร
อาวุธ : ปืนใหญ่ 76 มม. 1 กระบอก ปืน 8 มม. 1 กระบอก ตอร์ปิโด 45 ซม. 4 ท่อ
เครื่องจักร : เครื่องจักรใหญ่ชนิดดีเซล 2 เครื่อง ๆ ละ 8 สูบ กำลัง 1,100 แรงม้า เครื่องไฟฟ้ากำลัง 540 แรงม้า (ใช้เดินใต้น้ำ)
ความเร็ว : ความเร็วมัธยัสถ์ 10 นอต
รัศมีทำการ : รัศมีทำการ 4,770 ไมล์
ทหารประจำเรือ 33 คน (นายทหาร 5 พันจ่า-จ่า 28)

ข้อมูลจาก: http://th.wikipedia.org/wiki/เรือหลวงสินสมุทร

เป็นภาพในขณะที่ เรือหลวงสินสมุทร กำลังถูกปล่อยลงสู่น้ำในพิธีปล่อยเรือลงน้ำที่อู่ต่อเรือของบริษัทมิตซูบิชิในเมืองโกเบ ณ วันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ.1937

ภาพต้นฉบับที่ทางเพจของเรานำมาลงสีจาก:http://f.ptcdn.info/073/026/000/1417319420-3-o.jpg


German destroyer Z28


เรือพิฆาตเซอร์สโตรเรอร์ เเซด28 เเห่งครีกส์มารีน่า ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

French cruiser La Motte-Picquet


เรือลาดตระเวนเบา ลามอตต์-ปิเกต์ (French cruiser La Motte-Picquet)

เป็นเรือลาดตระเวนเบาชั้นดูว์กวาย-ทรูแอ็ง ของกองทัพเรือฝรั่งเศส ที่ได้ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่พลเรือเอก เคานต์ตูแซ็ง-กีโยม ปีเกต์ เดอ ลา ม็อต์ต นายทหารเรือฝรั่งเศสในคริสต์วรรษที่ 18 และได้ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำในปีค.ศ.1924 ประจำการอยู่ที่ฐานทัพเรือเมืองเเบรสต์ในประเทศฝรั่งเศส จนถึงปีค.ศ.1933 

เรือลาม็อตต์-ปีเกต์ ได้จัดเป็นเรือธงในสังกัดหมวดเรือเบาที่ 3 ประจำการอยู่ที่เมืองเเบร็สต์ในประเทศฝรั่งเศสจนถึงปีค.ศ.1933 ต่อมาจึงได้ถูกส่งมาประจำการที่อินโดขีนฝรั่งเศสในปีค.ศ.1935 เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่สองขึ้นในเเถบทวีปยุโรปขึ้นในปีค.ศ.1939 เรือลำนี้ก็ได้ใช้ออกลาดตระเวนตามชายฝั่งอินโดจีนฝรั่งเศส และเเละหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์

เมื่อภายหลังจากฝรั่งเศสยอมจำนนต่อฝ่ายเยอรมันเเล้ว ความขัดเเย้งตามเเนวชายเเดนไทย-ฝรั่งเศสก็ได้ทวีความรุนเเรงยิ่งขึ้นจนปะทุเป็นกรณีพิพาทไทย-อินโดจีนฝรั่งเศสขึ้นในเดือนธันวาคม ค.ศ.1940 เเละเมื่อถึงเดือนมกราคม ค.ศ.1941 เรือลาม็อตต์-ปีเกต์ จึงถูกจัดให้เป็นเรือธงของกองเรือเฉพาะกิจที่ 7 ซึ่งได้ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ.1940 ที่อ่าวคามเเรงห์ ที่เมืองไซ่ง่อน เรือดูว์มงดูร์วีล เรือมาร์น และเรือตาอูร์ ได้เข้าทำการรบในยุทธนาวีที่เกาะช้าง จนสามารถทำลายเรือรบของไทยได้ถึง 3 ลำ เเต่เรือลาม็อตต์-ปีเกต์ ก็ได้รับความเสียอย่างหนักด้วยเช่นกัน

หลังจากนั้นเรือลาม็อตต์-ปีเกต์ ได้เดินทางไปยังโอซาก้าเพื่อทำการซ่อมบำรุงเรือในเดือนกันยายน ของปีเดียวกัน เรือลาม็อตต์-ปีเกต์ก็ถูกจำกัดบทบาทลงและถูกปลดอาวุธเป็นเพียงเเค่เรือฝึก เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ.1941 ซึ่งในเวลาต่อมาเรือจึงมาถูกจมโดยเครื่องบินจากกองเรือเฉพาะกิจที่ 38 ของกองทัพเรือสหรัฐฯ ในวันที่ 12 มกราคม ค.ศ.1945

เรือลาดตระเวนเบา ลามอตต์-ปิเกต์ เเห่งกองทัพเรือฝรั่งเศส ในช่วงของปีค.ศ.1932

German armoured train Panzer Zug BP 42


ขบวนรถไฟหุ้มเกราะ เเพนเซอร์ ซูก บีพี 42 เเห่งกองทัพบกเยอรมัน ขณะกำลังอยู่ในเเนวหน้าทางด้านทิศตะวันออก ในช่วงราวๆปลายค.ศ.1942 ถึงต้นปีค.ศ.1943

Cr.: http://www.ww2incolor.com/d/530470-6/weapon_flak38_32

German battleship Tirpitz


เรือประจัญบานเทียร์พิตซ์ (German battleship Tirpitz

เป็นหนึ่งในสองเรือประจัญบานของชั้น บิสมาร์ค ซึ่งถือเป็นชั้นเรือที่ใหญ่ที่สุดของเยอรมันนี ผลิตขึ้นเพื่อรับใช้ทัพเรือนาซีเยอรมัน ( Kriegsmarine ) ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยคำว่า "เทียร์พิตซ์" มาจากผู้บัญชาการทหารเรือหลวงเยอรมันนี (Imperial German Navy ) คนสำคัญของเยอรมันนีในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 นามว่า "อัลเฟรด ฟอน เทียร์พิตซ์"

เทียร์พิตซ์ ถูกต่อขึ้นเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ.1936 โดยบริษัท Kriegsmarinewerft Wilhelmshaven ของเยอรมันนี จนสร้างเเล้วเสร็จเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ.1939 และได้นำไปใช้ปฏิบัติการเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1941 เช่นเดียวกับ บิสมาร์ค ซึ่งได้นำไปใช้ก่อนหน้านี้แล้ว

หลังจากเสร็จสิ้นการทดสอบเรือในช่วงต้นปีค.ศ.1941 ก็ได้ไปร่วมกับกองเรือบอลติก ซึ่งได้เป็นเรือธง มีหน้าที่เฝ้าระวังกองเรือโซเวียตในทะเลบอลติก ในช่วงปีค.ศ.1942 เรือเทียร์พิตซ์ ได้แล่นไปทางนอร์เวย์ เพื่อเข้าไปยับยั้งกองกำลังจากฝั่งพันธมิตร และการรุกรานของเหล่าพันธมิตร  ขณะที่อยู่ในนอร์เวย์ ก็ได้เข้าถล่มกองเรือที่มุ่งไปโซเวียต

ในตอนนี้ เรือระดับตำนาน ชั้นบิสมาร์ค ที่มีอยู่ 2 ลำ ได้ถูกอังกฤษจมลงไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 1 ลำ คือเรือบิสมาร์ค นั่นเอง คงเหลือแต่ เทียร์พิตซ์ ลำนี้เพียงลำเดียวที่ยังคงเป็นความหวังให้กับเยอรมันอยู่

เทียร์พิตซ์ นับเป็นหนึ่งในเรือรบที่จัดทัพกลางทะเล จุดประสงค์หลักคือการต่อกรกับทัพเรืออังกฤษ เพื่อที่จะครอบครองพื้นที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ในทะเลให้กับเยอรมันนี ต่อมาในปีค.ศ.1943 เทียร์พิตซ์และ เรือประจัญบาน ชาร์นฮอร์สต์ ได้มีส่วนร่วมในการถล่มฝั่งพันธมิตรบนเกาะสฟาลบาร์ ของนอร์เวย์ เมื่อเทียร์พิตซ์ ได้ยิงกระสุนออกจากปืนใหญ่หลักออกไปได้เพียงหนึ่งลูก หลังจากนั้นไม่นาน เทียร์พิตซ์ ก็ถูกโจมตี โดยแผนของอังกฤษที่เรียกว่า Operation Source ด้วยวิธีการส่งเรือดำน้ำขนาดเล็ก ที่มีคนขับเพียง 1-2 คน จำนวนหลายๆลำเข้าโจมตี ตามมาด้วยการโจมตีทางอากาศขนานใหญ่ แต่เรือก็สามารถรอดมาได้ จนซ่อมเสร็จพอใช้งานได้ ในช่วงเดือนเมษายน ค.ศ.1944

ในวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ.1944 เครื่องบินทิ้งระเบิดแลงคาสเตอร์ของอังกฤษได้บรรทุกระเบิดทอลบอล น้ำหนักกว่า 12,000 ปอนด์ (5,400 กก.) ทิ้งเข้าใส่เรือประจัญเทียร์พิตซ์ โดยโดนเป้าเต็มๆ ส่งผลให้เรือพลิกคว่ำอย่างรวดเร็วเเละเกิดเพลิงกระจายไปยังฐานยิงปืนใหญ่หลัก ซึ่งเป็นที่บรรจุกระสุนปืนใหญ่ ส่งผลให้เกิดระเบิดขนาดใหญ่ตามมา มีการคำนวณผู้เสียชีวิต อยู่ระหว่าง 950 ถึง 1,250 นาย และภายหลังสงครามยุติลงเรือลำนี้ก็ได้รับการกู้ขึ้นมา โดยความร่วมมือของนอร์เวย์และเยอรมันนี

ความพยายามของอังกฤษที่หวังจะจมเรือประจัญบานเทียร์พิตซ์ นั้น หลายครั้งด้วยกันได้แก่ OperationSource, Tungsten Planet, Brawn, Tiger Claw, Mascot, Goodwood,  Paravane, Obviate และสุดท้ายคือ Operation Catechism
 รวมแล้ว 9 ปฏิบัติการด้วยกัน นี่แหละคือพยายามของอังกฤษขนานแท้ ที่หวังจะจมมหาเรือแห่งไรซ์ที่ 3 ลำนี้ให้จงได้ และในที่สุดปฏิบัติการสุดท้ายของอังกฤษ นามว่า "Operation Catechism" นั้นก็ได้ทำให้โลกเห็นว่าอังกฤษก็สามารถล้มเรือประจัญบานลำแม่ลำสุดท้ายของเยอรมันลงได้ นี้คือการปิดฉากทั้งเรือประจัญบานที่ใหญ่ที่สุดลำหนึ่งเท่าที่เยอรมันเคยสร้างมาและเป็นการปิดฉากตระกูลเรือชั้นบิสมาร์ค ที่ได้เคยบันทึกในหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์ว่า เป็น 2 เรือที่ประจัญบานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งไรซ์ที่ 3 ตั้งแต่เคยมีมา

ขอขอบคุณบทความจาก:http://militarycentral.blogspot.com/2012/11/tirpitz.html#.VOG0ovmUeWk

เป็นภาพของเรือปรจัญบานเทียร์พิตซ์ เเห่งครีกส์มารีน่าในเเบบลายพราง ที่ประเทศนอร์เวย์ ในช่วงราวๆเดือนมีนาคม ของปีค.ศ.1944

USS Cuttlefish (SS-171)


เรือดำน้ำ ยูเอสเอส คัทเทิลฟิช (เอสเอส-171) เเห่งกองทัพเรือสหรัฐฯ ในระหว่างการฝึกซ้อมจากนิวลอนดอนของรัฐคอนเนตทิคัต ในช่วงราวๆกลางปีค.ศ.1943

Cr.: http://www.navsource.org/archives/08/0817111.jpg