Japanese cruiser Sendai 川内 (軽巡洋艦)


เรือลาดตระเวนเบาเซนได (Japanese cruiser Sendai)

ที่ได้รับการตั้งชื่อตามชื่อของเเม่น้ำเซนได ที่อยู่ทางตอนใต้ของเกาะคิวชู โดยที่เซนไดเป็นลำเเรกของชั้นที่ตามมาด้วย จินทสึ นากะ คาโกะ อายาเสะ (ที่ถูกเปลี่ยนเเบบไปเป็นฟุรุทากะ) เเละมินาเสะกับโอโตะนาเสะ (ที่ถูกยกเลิกการก่อสร้าง) โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นเรือธงประจำกองเรือพิฆาตของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น 

เซนไดถูกสร้างเสร็จสมบูรณ์ที่อู่ต่อเรือของบริษัทมิตซูบิชิในเมืองนางาซากิ เมื่อวันที่ 29 เมษายน ค.ศ.1924 เเละได้รับคำสั่งให้ทำหน้าที่ออกลาดตระเวนในทันทีที่เรือสร้างเสร็จที่เเม่น้ำเเยงซีในประเทศจีน โดยที่เซนไดได้มีบทบาทสำคัญในช่วงต้นของสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สองที่เซี่ยงไฮ้ ที่ในเวลาต่อมาเซนไดก็ทำหน้าที่ในการลาดตระเวนคุ้มกันเขตปกครองของญี่ปุ่น ทางตอนใต้ของประเทศจีน จนกระทั่ง....

ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ.1941 เซนไดก็ได้ทำหน้าที่เป็นเรือธงภายใต้การบังคับบัญชาของพลเรือตรี ชินทาโระ ฮาชิโมโตะ เเละในช่วงเวลาเดียวกับการเข้าโจมตีท่าเรือเพิร์ล เซนไดเเละเหล่าเรือพิฆาตที่ประกอบไปด้วย อายานามิ อิโซนามิ ชิกินามิ เเละอุรานามิ ก็ได้มีส่วนร่วมในการบุกเข้าโจมตีที่เเหลมมาลายูเเละสิงคโปร์ในช่วงระหว่างปีค.ศ.1941-1942 เช่นการคุ้มกันกองเรือลำเลียงพลกองพลที่25 ของพลโท โมยูกิ ยามาชิตะ ที่เเหลมมาลายู เเละร่วมระดมยิงเข้าใส่เมืองโกตาบารู เเละเซนไดกับเรือพิฆาตชิรายูกิ ได้ร่วมกันจมเรือพิฆาต เอชเอ็มเอส ธาเนต (เอช29) ที่เอ็นเดา จนกระทั่งในช่วงปลายๆเดือนเมษายน ของปีค.ศ.1942 เซนไดก็ได้เดินทางกลับไปยังฐานทัพเรือซาเซโบะเพื่อทำการซ่อมเเซม

ต่อมาในช่วงยุทธนาวีที่มิดเวย์ ณ วันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ.1942 เซนไดก็ได้เข้าร่วมกับกองเรือผสม ที่ห่างออกไปกว่า 600 ไมล์ทะเลจากกองเรือบรรทุกเครื่องบินของพลเรือโท จูอิจิ นากุโมะ ที่ได้เข้าปะทะกับกองเรือของสหรัฐฯ จนกระทั่งเซนไดเดินทางกลับไปยังฐานทัพเรือคุเระในวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ.1942 โดยที่ไม่ได้มีบทบาทในศึกครั้งนี้เเต่อย่างใค

ในช่วงระหว่างการศึกที่หมู่เกาะโซโลม่อน ณ วันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ.1942 เซนไดก็ได้กลับเข้าไปร่วมกับกองกำลังทางตะวันตกเฉียงใต้ที่พม่าและในการโจมตีโฉบฉวยที่มหาสมุทรอินเดีย จนกระทั่งเเผนการการนี้ถูกยกเลิกอันเนื่องมาจากทางจักรวรรดิญี่ปุ่นประสบปัญหาในเเนวรบที่กัวดาคาแนล เซนไดจึงถูกส่งมาที่มากัสซาร์ ดาเวาและทรัค เพื่อทำหน้าที่คุ้มกันขบวนเรือที่เดินทางไปยังราบวล ช็อตแลนด์ เเละเกาะบู เก้นวิลล์ และในวันที่ 12 กันยายน เซนไดเเละเหล่าเรือพิฆาต ชิกินามิ ฟุบุกิ เเละสึซึคาเซะ ได้ร่วมกันยิงถล่มใส่ฐานบินเฮนเดอสันบนเกาะกัวดาคาแนล โดยที่เซนไดได้เคยถูกยิงจากเรือประจัญบาน ยูเอสเอส วอชิงตัน (บีบี-56) ในช่วงระหว่างยุทธนาวีที่กัวดาคาแนลเเต่เซนไดก็ไม่ได้รับความเสียหายเเต่อย่างใด

ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1943 เซนไดก็ได้กลับมาเข้าร่วมกับกองเรือที่8 ภายใต้การนำของพลเรือโท จูอิจิ มิคาวะ เพื่อทำการลาดตระเวนที่บริเวณเกาะราบวลจนถึงเดือนเมษายนจนกระทั่งเดินทางกลับไปที่ฐานทัพเรือซาเซโบะในช่วงเดือนพฤษภาคม ที่เซนไดได้รับการซ่อมแซมและปรับปรุงด้วยการติดตั้งปืนต่อสู้อากาศยานเเบบเเฝด3 ขนาด 25 มม.และเรดาร์เเบบไทป์21 จนกระทั่งเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ.1943 เซนไดก็ได้เดินทางกลับไปยังทรัค เเละได้ทำหน้าที่คุ้มกันขบวนเรือที่เดินทางไปยังปาปัวนิวกินีและที่ช็อตเเลนด์

กระทั่งท้ายที่สุดในเช้าวันรุ่งขึ้นของวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ.1943 ในยุทธนาวีที่อ่าวออกัสต้ากองทัพเรือญี่ปุ่นได้พยายามที่จะเสริมกำลังไปยังที่เกาะบูเก้นวิลล์ เเต่ก็ได้ถูกกองเรือเฉพาะกิจที่39 ของสหรัฐฯเข้าทำการสกัดกั้น ที่ประกอบไปด้วยเรือลาดตระเวนเบา ยูเอสเอส คลีฟแลนด์ โคลัมเบีย มอนต์เพเลีย และเดนเวอร์ และเรือพิฆาต ยูเอสเอส สแตนลี่ย์ ชาร์ลส์ออสเบิรน แคล็กซ์ตั้น ไดสัน คอนเวิร์ส ฟุท สเปนซ์ และแทตเชอร์ โดยทางฝ่ายกองทัพเรือญี่ปุ่นประกอบไปด้วยเรือลาดตระเวนหนัก เมียวโกะ เเละฮากุโระ เรือลาดตระเวนเบา เซนได เเละอากาโนะ เรือพิฆาต ชิกุเระ ซามิดาเระ ชิราทสึยุ นากานามิ วาคัตสึกิ ฮัตสึคาเซะ อามางิริ ยูงางิ อูซึกิ เเละฟุซึกิ

โดยที่หายนะในศึกนี้เริ่มจากการที่เรือพิฆาตชิกุเระได้สังเกตเห็นเรือพิฆาตของสหรัฐฯในระยะที่ 7,500 หลา ชิกุเระจึงทำการหักทางกราบขวาในทันทีเพื่อทำการยิงจรวจตอร์ปิโดทั้ง 8 ลูกเข้าใส่เรือพิฆาตของสหรัฐฯ ที่ส่งผลให้ เซนไดที่ได้ทำการเปิดกราบขวาเพื่อหลบหลีกการโจมตีจากข้าศึกด้วยเช่นกันก็ได้มาชนเข้ากับเรือพิฆาตชิกุเระ ที่ทำให้เหล่าเรือลาดตระเวนเบาทั้งสี่ลำของสหรัฐฯทำการระดมยิงกระสุนปืนใหญ่ขนาด 6 นิ้วด้วยระบบเรดาห์ที่เเม่นยำในชุดเเรกเข้าใส่ เซนไดกับชิกุเระ ที่ส่งผลให้ เซนไดเกิดเพลิงลุกไหม้จนกระทั่งในเช้าของวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ.1943 เซนไดก็ได้จมลงพร้อมๆกับเรือพิฆาตฮัตสึคาเซะ โดยที่กัปตัน โชจิ พร้อมลูกเรืออีกกว่า 184 นายจมลงไปพร้อมกับเรือ แต่ลูกเรืออีกกว่า 236 นายได้รับการช่วยเหลือจากเรือพิฆาตที่ไม่ทราบว่าเป็นลำใด ที่ในเวลาต่อมามีข้อมูลเพิ่มเติมว่าพลเรือตรี อิจูอิน และลูกเรืออีกกว่า 75 ชีวิตได้รับการช่วยเหลือจากเรือดำน้ำของญี่ปุ่น โระ-104

ที่ในเวลาต่อมาเรือลาดตระเวนเวนเบาเซนไดก็ได้ถูกลบชื่อออกจากเรือรบของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นในวันที่ 5 มกราคม ค.ศ.1944

ลักษณะเฉพาะ
ระวางขับน้ำ: 5,195 ตัน
ความยาว: 152.4 เมตร
ความกว้าง: 14.2 เมตร
กินน้ำลึก: 4.9 เมตร
เครื่องยนต์: 90,000 แรงม้า หม้อน้ำเเบบคัมปง 10 หม้อ 4 เพลา
ความเร็ว: 35.3 นอต
ระยะทางเชื้อเพลิง: 5,000 ไมล์ทะเลที่ความเร็ว 14 นอต
อัตราเต็มที่: 452 นาย
ยุทโธปกรณ์:
หมู่ปืนหลักขนาด 5.5 นิ้ว เเบบเเท่นเดี่ยว 7 เเท่น
ปืนต่อสู้อากาศยานขนาด 80 มม. 2 กระบอก
ตอร์ปิโดขนาด 24 นิ้ว 4 ท่อ
ทุ่นระเบิด 48 ลูก
เกราะ: ด้านข้าง 2.5 นิ้ว ดาดฟ้า 1.1 นิ้ว
อากาศยาน: 1 เครื่อง เเท่นดีด 1 เเท่น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: http://en.wikipedia.org/wiki/Japanese_cruiser_Sendai

เป็นภาพของเรือลาดตระเวนเบาเซนได ในช่วงของปีค.ศ.1923

ภาพที่ถูกนำมาลงสีใหม่จาก:http://www.geocities.jp/tokugawa_navy/C-sendai.jpg

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น