Japanese aircraft carrier Zuikaku 瑞鶴 (空母)


The crew of the sinking Zuikaku salute as the flag is lowered on 25 October 1944

ภาพของเหล่าบรรดาลูกเรือของเรือบรรทุกเครื่องบินซุยคาคุขณะร่วมกันทำความเคารพเป็นครั้งสุดท้ายบนดาดฟ้าของเรือ ก่อนที่จะทำการสละเรือลง เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ.1944
ขอขอบคุณภาพขาวดำต้นฉบับจาก : https://upload.wikimedia.org/…/Lowering_the_flag_on_Zuikaku…
 @Tao 

Japanese battleship Yamato 大和 (戦艦) 1943


Japanese battleship Yamato entering Truk Harbor, 1943

เรือประจัญบานยามาโตะ ในขณะกำลังเดินทางเข้าสู่บริเวณเกาะทรูค ในช่วงของปีค.ศ.1943

ขอขอบคุณภาพขาวดำต้นฉบับจาก :http://waralbum.ru/wp-content/uploads/2016/03/Ямато-1943-2.jpg

 @Tao 

Japanese cruiser Sakawa 酒匂 (軽巡洋艦)


Japanese cruiser Sakawa, Sasebo, Kyushu, Japan, 15 October 1945.

เรือลาดตระเวนเบาลำดับสุดท้ายเเห่งชั้นอากาโนะ เรือลาดตระเวนเบาซาคาวะ ขณะทอดสมออยู่ที่ฐานทัพเรือซะเซะโบะ ในวันที่ 15 ตุลาคม ปี ค.ศ. 1945
ภาพขาวดำต้นฉบับจาก : https://goo.gl/yQqiwS
//@Iwato A.K.A @Hata//

HTMS Songkhla


HTMS Songkla at launching ,Trieste, Italy, 10 February 1937

เรือหลวงสงขลา เป็นหนึ่งในเรือตอปิโดใหญ่ในชุดตราดที่ได้รับพระราชทานชื่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ตามชื่อจังหวัดทางภาคใต้ของประเทศไทยที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน มหานาวาแห่งราชนาวีลำนี้ มีเกียรติภูมิอันเกรียงไกร ในการเป็นเรือรบทำหน้าที่ประจำการเหนือน่านน้ำไทย กินระยะเวลามายาวนาน เรือหลวงสงขลาระวางขับน้ำ 450 ตัน สร้างความครั้นคร้ามแก่อริราชศัตรู และอาวุธยุทธโธปกรที่ทันสมัยที่สุดในยุคนั้น ยามศึกสงครามเรือรบลำนี้มีแสนยานุภาพในการโรมรันเหนือน่านน้ำ ฟาดฟันกับเรือดำน้ำ และรุกฆาตอากาศยาน ที่หันมารุกรานพลานพล้าราชอาณาจักรไทย

ร่วมจดจำกันว่า เมื่อวันที่ 17 มกราคม ค.ศ.1941 คือวันที่ “....ดอกประดู่ซึ่งเคยเหลืองสะพรั่งอยู่เต็มต้องสละต้นจมลงสู่มหาสมุทรเสียหลายชีวิต หล่นเหลืองลงพลีพระสมุทรเพื่อความอยู่รอดของชาติไทย...

เหตุเริ่มต้นจาก “กรณีพิพาทระหว่างไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศส” ตั้งแต่ปีที่แล้ว (ค.ศ.1940) เมื่อรัฐบาลไทยเริ่มเจรจาเรียกร้องดินแดนสยามที่เสียไปครั้ง ร.ศ.112 คืนจากฝรั่งเศสที่กำลังเพลี่ยงพล้ำสงครามในยุโรป ซึ่งนั้นก็คือสัญญาณเริ่มต้นของความขัดแย้งครั้งใหม่ ที่นำไปสู่ปฏิบัติการทางทหารและสงครามของสองประเทศอีกครั้ง แต่ครั้งนี้เราไม่ได้ “อ่อนแอ” เหมือนก่อนอย่างแน่นอน

ฝรั่งเศสส่งกองทหารผสมญวน เขมร เข้าตรึงกำลังตลอดแนวฝั่งแม่น้ำโขงในทันที ในขณะที่กองทัพไทยก็ได้จัดกำลังพลทั้งทางบก ทางเรือและทางอากาศอย่างพร้อมสรรพ ในสภาพการณ์ที่เป็นไปได้

และเมื่อฝรั่งเศสส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดเข้าโจมตีจังหวัดนครพนม นั่นก็หมายความว่า สงครามอินโดจีนได้เปิดฉากขึ้นแล้วอย่างเป็นทางการแล้ว !!!

กองทัพไทยจึงต้องเตรียมพร้อม โดยเฉพาะกองทัพเรือ ที่จะต้องคอยระวังรักษาน่านน้ำฝั่งทะเลตะวันออก อันเป็นแนวชายแดนสำคัญทางทะเล ที่ในอดีตฝรั่งเศสเคยเอาเรือรบล่วงเข้ามาถึงพระนครได้ แต่จะไม่มีครั้งที่สองอีกแล้ว

วันที่ 16 มกราคม ค.ศ.1941 น.ท.หลวงพร้อมวีรพันธุ์ ได้รับคำสั่งให้นำเรือรบ 6 ลำออกลาดตระเวนบริเวณเกาะช้างและเกาะกูดอย่างเช่นเคยปฏิบัติ แต่ครั้งนี้กำชับว่าให้อยู่ในสถานการณ์ “พร้อมรบเต็มอัตรา”

06.00 น. ของวันที่ 17 มกราคม ค.ศ.1941 เครื่องบินฝรั่งเศสลำหนึ่งก็บินล่วงล้ำน่านฟ้าเข้ามา มีเป้าหมายโจมตีอาคารบนเกาะช้าง แต่ก็พลาดเป้าหมายไปมาก

เรือตอร์ปิโดใหญ่ 2 ลำของไทย คือ ร.ล.สงขลา มี น.ต.ชั้น สิงหชาญ เป็นผู้บังคับการเรือ และ เรือรบหลวง ร.ล.ชลบุรี มี ร.อ.ประทิน ไชยปัญญา เป็นผู้บังคับการเรือ ที่กำลังลาดตระเวนอยู่ทางใต้ของเกาะช้าง จึงยิงปืนต่อสู้อากาศยานบนดาดฟ้าเข้าใส่ ทำให้เครื่องบินฝรั่งเศส จนเกิดไฟลุกท่วมลำไปตกลงที่เกาะหวาย ....ยุทธนาวีกำลังจะเริ่มขึ้นแล้ว !!!

เมื่อมาถึงก็ไม่รอท่า เรือธงลามอตต์ปิเกต์ เปิดฉากระดมยิงปืนใหญ่เรือเข้าใส่อาคารบนเกาะง่ามในทันทีที่มาถึง เรือรบหลวงชลบุรีและสงขลาที่จอดคอยท่าอยู่ในท่ามกลางหมอกเช้าเป็นอำพรางธรรมชาติ จึงยิงตอบโต้สวนกลับทันที ซึ่งก็สามารถเบี่ยงเบนให้เรือธงฝรั่งเศส หันปากกระบอกปืนมาทางเรือรบหลวงของไทย

เรือรบหลวงทั้งสองลำจึงได้ร่วมกันรบ ร.ล.สงขลา ระวางขับน้ำ 470 ตัน ก็ได้เข้าต่อกรกับเจ้ายักษ์ลามอตต์ปิเกต์
เเละเรือลำอื่นๆอีก 5 ลำร่วมกับ ร.ล.ชลบุรี

เมื่อสังเกตเห็นข้าศึกอยู่ในพิสัย ร.ล.สงขลา จึงทำการยิงปืนใหญ่เรือ 3 นิ้ว ที่มีอยู่เพียงสามกระบอกเข้าใส่เรือธงลามอตต์ปิเกต์ แต่ ร.ล.สงขลา ไม่มีมุมยิงตอร์ปิโด เนื่องจาก ร.ล.สงขลา ได้จอดโดยหันหัวเรือไปทางฝั่งเกาะช้าง ส่งผลให้กระสุนจากเรือลามอตต์ปิเกต์ได้สร้างความเสียหายแก่ ร.ล.สงขลา จนเกิดเพลิงลุกไหม้กลางลำเรือ น้ำทะลักเข้าตัวเรือ คลังกระสุนเกิดน้ำท่วม ลูกเรือเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมากซึ่งก็สร้างความเสียหายให้กับเรือธงของฝรั่งเศสในทันทีที่ปะทะกันเช่นกัน

เมื่อระยะเวลาการปะทะกันเริ่มยาวนานขึ้น หมอกในยามเช้าก็เริ่มหายไปจนหมด เรือรบหลวงฝ่ายไทยจึงเริ่มเป็นฝ่ายเสียเปรียบ และทันทีทันใด ร.ล.สงขลา ก็ถูกกระสุนเรือลามอตต์ปิเกต์สวนกลับมาเข้าที่ท้ายเรือ ลูกประดู่ประจำปืนท้ายเรือล้มลงขาดใจตายในทันที !!!

เทพีแห่งโชคคงไม่เข้าข้างฝ่ายไทยแล้ว เมื่อ ร.ล.สงขลา ถูกกระหน่ำยิงเข้าจุดสำคัญหลายแห่ง ไฟไหม้พลุ่งขึ้นไปทั่วเรือ แต่เสียงปืนของฝ่ายไทยก็ยังคงตอบโต้ต่อผู้รุกรานไม่ได้หยุดหย่อน

ร.ล.ทั้งสองถูกกระสุนเข้าที่สำคัญหลายต่อหลายแห่ง ทหารเสียชีวิตและบาดเจ็บมากขึ้น แต่ก็ไม่มีเสียงบ่นหรือครวญครางให้ได้ยิน มีแต่เสียงปืนที่ยิงตอบโต้โดยไม่ยอมหยุดเท่านั้น

ในที่สุด ร.ล. สงขลา ก็ไปไม่รอดและกำลังจะจมลง ผู้บังคับบัญชาเรือจึงสั่งการให้สละเรือเมื่อเวลา 06.45 น.

เรือหลวง สงขลา ถือเป็นเกียรติประวัติของกองทัพเรือไทย เป็นเรือรบที่สมบูรณ์แบบได้ต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับทหารเรือไทย อย่างเต็มกำลัง ซึ่งปัจจุบัน ร.ล.สงขลาที่จมลงในวันนั้น คอยเตือนความทรงจำของคนไทยทั้งชาติและทหารเรือทุกนาย ให้ได้ระลึกถึง “วีรกรรมที่เกิดขึ้นจริง” ของเหล่าผู้กล้าหาญทั้งที่มีชีวิตอยู่และล่วงลับไปแล้ว จนถึงทุกวันนี้

ความสูญเสียที่เกิดขึ้นในวันนั้น ราชนาวีไทยต้องเสียเรือรบทั้งสามลำ ทหารประจำเรือสละชีพ 36 นาย เป็นทหารประจำ ร.ล.ธนบุรี 20 นาย ร.ล.สงขลา 14 นาย ร.ล.ชลบุรี 2 นาย สำหรับการสูญเสียของฝ่ายข้าศึกฝรั่งเศส เรือธงลามอตต์ปิเกต์ได้รับความเสียหายอย่างหนัก ทหารเรือเสียชีวิตไม่ทราบจำนวนแน่นอน แต่ทราบกันว่าเมื่อเรือข้าศึกกลับถึงไซ่ง่อน ได้มีการขนศพทหารที่เสียชีวิต และทหารที่ได้รับบาดเจ็บขึ้นบกกันตลอดคืน เรือสลุปจมลงนอกชายฝั่งทะเลสองลำ

การรบทางเรือครั้งนี้นับว่าเป็นการรบทางเรือที่ได้กระทำอย่างจริงจัง ในประวัติการรบของทหารเรือไทย นับแต่ได้ดำเนินการทหารเรือตามแบบอย่างของอารยประเทศที่เจริญในการเดินเรือ ซึ่งชาวไทยทั้งหลายควรภูมิใจ เพราะนับตั้งแต่สงครามญี่ปุ่น-รัสเซีย เมื่อปี ค.ศ.1904-1905 แล้วก็มีประเทศไทยที่เป็นประเทศในตะวันออกไกล ชาวเอเซียได้ทำการรบทางเรืออย่างแท้จริงกับชาติตะวันตกแม้ฝรั่งเศสเอง ซึ่งเป็นข้าศึกของเราในครั้งนั้นก็ยังกล่าวสรรเสริญถึงวีรกรรมของทหารเรือไทย ดังได้ปรากฏในวิทยุกระจายเสียงสถานีไซ่ง่อน เมื่อ 19 มกราคม ค.ศ.1941 มีความว่า

“แต่เราจะลืมเสียมิได้ที่จะสรรเสริญการต่อสู้อย่างทรหดกล้าหาญของทหารไทย เราขอน้อมเคารพพวกทหารเรือไทยที่ได้สิ้นชีพในการต่อสู้อย่างถึงที่สุดสมเกียรติทหาร เพื่อบ้านเกิดเมืองนอนของเขาด้วย”

เป็นภาพของเรือหลวงสงขลา ในขณะกำลังทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำที่เมืองตรีเอสเต ประเทศอิตาลี เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1937

ขอขอบคุณภาพขาวดำต้นฉบับจาก : http://60-250-180-26.hinet-ip.hinet.net/theme/theme-105/105-108.jpg

ขอขอบคุณบทความดีๆจาก :http://talung.gimyong.com/index.php?topic=16199.0

 @Tao