German battleship Tirpitz


เรือประจัญบานเทียร์พิตซ์ (German battleship Tirpitz

เป็นหนึ่งในสองเรือประจัญบานของชั้น บิสมาร์ค ซึ่งถือเป็นชั้นเรือที่ใหญ่ที่สุดของเยอรมันนี ผลิตขึ้นเพื่อรับใช้ทัพเรือนาซีเยอรมัน ( Kriegsmarine ) ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยคำว่า "เทียร์พิตซ์" มาจากผู้บัญชาการทหารเรือหลวงเยอรมันนี (Imperial German Navy ) คนสำคัญของเยอรมันนีในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 นามว่า "อัลเฟรด ฟอน เทียร์พิตซ์"

เทียร์พิตซ์ ถูกต่อขึ้นเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ.1936 โดยบริษัท Kriegsmarinewerft Wilhelmshaven ของเยอรมันนี จนสร้างเเล้วเสร็จเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ.1939 และได้นำไปใช้ปฏิบัติการเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1941 เช่นเดียวกับ บิสมาร์ค ซึ่งได้นำไปใช้ก่อนหน้านี้แล้ว

หลังจากเสร็จสิ้นการทดสอบเรือในช่วงต้นปีค.ศ.1941 ก็ได้ไปร่วมกับกองเรือบอลติก ซึ่งได้เป็นเรือธง มีหน้าที่เฝ้าระวังกองเรือโซเวียตในทะเลบอลติก ในช่วงปีค.ศ.1942 เรือเทียร์พิตซ์ ได้แล่นไปทางนอร์เวย์ เพื่อเข้าไปยับยั้งกองกำลังจากฝั่งพันธมิตร และการรุกรานของเหล่าพันธมิตร  ขณะที่อยู่ในนอร์เวย์ ก็ได้เข้าถล่มกองเรือที่มุ่งไปโซเวียต

ในตอนนี้ เรือระดับตำนาน ชั้นบิสมาร์ค ที่มีอยู่ 2 ลำ ได้ถูกอังกฤษจมลงไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 1 ลำ คือเรือบิสมาร์ค นั่นเอง คงเหลือแต่ เทียร์พิตซ์ ลำนี้เพียงลำเดียวที่ยังคงเป็นความหวังให้กับเยอรมันอยู่

เทียร์พิตซ์ นับเป็นหนึ่งในเรือรบที่จัดทัพกลางทะเล จุดประสงค์หลักคือการต่อกรกับทัพเรืออังกฤษ เพื่อที่จะครอบครองพื้นที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ในทะเลให้กับเยอรมันนี ต่อมาในปีค.ศ.1943 เทียร์พิตซ์และ เรือประจัญบาน ชาร์นฮอร์สต์ ได้มีส่วนร่วมในการถล่มฝั่งพันธมิตรบนเกาะสฟาลบาร์ ของนอร์เวย์ เมื่อเทียร์พิตซ์ ได้ยิงกระสุนออกจากปืนใหญ่หลักออกไปได้เพียงหนึ่งลูก หลังจากนั้นไม่นาน เทียร์พิตซ์ ก็ถูกโจมตี โดยแผนของอังกฤษที่เรียกว่า Operation Source ด้วยวิธีการส่งเรือดำน้ำขนาดเล็ก ที่มีคนขับเพียง 1-2 คน จำนวนหลายๆลำเข้าโจมตี ตามมาด้วยการโจมตีทางอากาศขนานใหญ่ แต่เรือก็สามารถรอดมาได้ จนซ่อมเสร็จพอใช้งานได้ ในช่วงเดือนเมษายน ค.ศ.1944

ในวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ.1944 เครื่องบินทิ้งระเบิดแลงคาสเตอร์ของอังกฤษได้บรรทุกระเบิดทอลบอล น้ำหนักกว่า 12,000 ปอนด์ (5,400 กก.) ทิ้งเข้าใส่เรือประจัญเทียร์พิตซ์ โดยโดนเป้าเต็มๆ ส่งผลให้เรือพลิกคว่ำอย่างรวดเร็วเเละเกิดเพลิงกระจายไปยังฐานยิงปืนใหญ่หลัก ซึ่งเป็นที่บรรจุกระสุนปืนใหญ่ ส่งผลให้เกิดระเบิดขนาดใหญ่ตามมา มีการคำนวณผู้เสียชีวิต อยู่ระหว่าง 950 ถึง 1,250 นาย และภายหลังสงครามยุติลงเรือลำนี้ก็ได้รับการกู้ขึ้นมา โดยความร่วมมือของนอร์เวย์และเยอรมันนี

ความพยายามของอังกฤษที่หวังจะจมเรือประจัญบานเทียร์พิตซ์ นั้น หลายครั้งด้วยกันได้แก่ OperationSource, Tungsten Planet, Brawn, Tiger Claw, Mascot, Goodwood,  Paravane, Obviate และสุดท้ายคือ Operation Catechism
 รวมแล้ว 9 ปฏิบัติการด้วยกัน นี่แหละคือพยายามของอังกฤษขนานแท้ ที่หวังจะจมมหาเรือแห่งไรซ์ที่ 3 ลำนี้ให้จงได้ และในที่สุดปฏิบัติการสุดท้ายของอังกฤษ นามว่า "Operation Catechism" นั้นก็ได้ทำให้โลกเห็นว่าอังกฤษก็สามารถล้มเรือประจัญบานลำแม่ลำสุดท้ายของเยอรมันลงได้ นี้คือการปิดฉากทั้งเรือประจัญบานที่ใหญ่ที่สุดลำหนึ่งเท่าที่เยอรมันเคยสร้างมาและเป็นการปิดฉากตระกูลเรือชั้นบิสมาร์ค ที่ได้เคยบันทึกในหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์ว่า เป็น 2 เรือที่ประจัญบานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งไรซ์ที่ 3 ตั้งแต่เคยมีมา

ขอขอบคุณบทความจาก:http://militarycentral.blogspot.com/2012/11/tirpitz.html#.VOG0ovmUeWk

เป็นภาพของเรือปรจัญบานเทียร์พิตซ์ เเห่งครีกส์มารีน่าในเเบบลายพราง ที่ประเทศนอร์เวย์ ในช่วงราวๆเดือนมีนาคม ของปีค.ศ.1944

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น