Russian battleship Marat "Petropavlovsk"


Russian battleship Marat "Petropavlovsk"
เรือประจัญบานมารัต เเห่งกองทัพเรือสหภาพโซเวียต ที่เดิมชื่อ เปโตปาฟลอฟส์กในสมัยที่ยังเป็นจักรวรรดิรัสเซีย โดยเป็นเรือประจัญบานชุดเเรกของรัสเซียในเเบบเดรดนอจ์ทในลำดับที่ 3 จาก 4 ลำ ในชุดของเรือประจัญบาญในชั้นเกนกุต โดยที่เรือลำนี้ได้ถูกสร้างขึ้นก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เเละได้รับการตั้งชื่อว่า เปโตปาฟลอฟส์ก เพื่อเป็นเกียรติเเก่ชัยชนะของรัสเซียที่มีเหนือฝ่ายอังกฤษและฝรั่งเศสในการปิดล้อมโจมตีที่เมืองเปโตปาฟลอฟส์ก โดยที่เรือลำนี้ได้ทำการสร้างเสร็จสมบูรณ์ในช่วงระหว่างฤดูหนาวของปีค.ศ.1914-1915 โดยที่เรือลำนี้ก็ยังไม่พร้อมที่จะเข้าเผชิญหน้ากับข้าศึกใดๆ ณ ช่วงเวลานั้น

จนกระทั่งในช่วงกลางปีค.ศ.1915 เปโตปาฟลอฟส์ก ก็ได้มีส่วนร่วมในการต่อต้านการโจมตีที่บริเวณปากอ่าวของฟินแลนด์จากการรุกรานของฝ่ายเยอรมัน เเละต่อมาที่ในปีค.ศ.1917 นั้นเรือลำนี้ก็ได้มีส่วนร่วมในการก่อการปฏิวัติรัสเซีย เเละเวลาต่อมาในปีค.ศ.1921 เรือลำนี้ก็ได้เข้าร่วมกับฝ่ายกบฏครอนสตัดท์ (ฝ่ายบอลเชวิก) จนได้รับชัยชนะเเละได้เปลี่ยนชื่อเรือเป็นมารัต โดยที่ในปีค.ศ.1937 มารัต เองก็ได้เข้าร่วมในพิธีสวนสนามทางเรือที่สปิตเฮดที่ประเทศอังกฤษ เเละต่อมาในปีค.ศ.1939 มารัตได้มีส่วนร่วมในการยิงสนับสนุนโจมตีอ่าวฟินแลนด์ในช่วงสงครามฤดูหนาว (สงครามโซเวียต-ฟินแลนด์)
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ในเดือนกันยายน ค.ศ.1941 มารัตก็ได้ทำการยิงสนับสนุนการให้กับฝ่ายกองทัพโซเวียตในขณะที่กองทัพเยอรมันเคลื่นทัพเข้าสู่เมืองเลนินกราด เเละในวันที่ 23 กันยายน ค.ศ.1941 มารัตก็ได้ถูกโจมตีในขณะจอดเทียบท่าโดยเครื่องบินดำดิ่งทิ้งระเบิดสตูก้า จู87 ของเสืออากาศ ฮานส์ อูลริค รูเดล ด้วยระเบิดขนาด 2,200 ปอนด์ 2 ลูกเข้าที่คลังกระสุนในบริเวณหัวเรือจนจมลง เเละในอีกหลายเดือนต่อมา มารัต ก็ได้ถูกกู้ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นป้อมปืนในการยิงสนับสนุนการล้อมโจมตีฝ่ายเยอรมันในเมืองเลนินกราด ภายหลังสิ้นสุดสงครามก็ได้มีเเผนที่จะปรับปรุงซ่อมเเซมเรือลำนี้โดยอาศัยชิ้นส่วนจากเรือฟรุนเซ เเต่โครงการนี้ก็ได้ถูกยกเลิกไปในปีค.ศ.1948 จนกระทั่งมาถึงปีค.ศ.1950 เรือลำนี้ก็ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น วอลคอฟ เเละได้ทำหน้าที่เป็นเรือฝึกจนกระทั่งมากลายเป็นเศษเหล็กในปีค.ศ.1953
เป็นภาพของเรือประจัญบานมารัต ภายหลังจากได้รับการปรับปรุงใหม่ ที่คาดว่าจะอยู่ในช่วงระหว่างปีค.ศ.1928-1931
ภาพต้นฉบับที่ทางเพจนำมาลงสีจาก: http://goo.gl/Nche95
///////// @Tao /////////

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น