USS Guam (CB-2) Alaska-class large cruiser


Large cruisers - ( Classification "CB" )
ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่2 ได้เกิดการรื้อฟื้นค่านิยมของขนาดของเรือประจัญบานและเรือลาดตระเวน. บ้างอธิบายว่าเป็นเรือลาดตระเวนประจัญบาน แต่ไม่เคยถูกกำหนดประเภทเป็นเรือรบหลัก เเต่ได้อธิบายไว้ในแบบต่างๆ เช่น "เรือลาดตระเวนชั้นพิเศษ หรือ super cruisers","เรือลาดตระเวนขนาดใหญ่ หรือ large cruisers" หรือ "เรือลาดตระเวนไม่จำกัดประเภท หรือ unrestricted cruisers".
กองทัพเรือเนเธอร์แลนด์ ,กองทัพเรือสหรัฐอเมริกา เเละกองทัพเรือญี่ปุ่น ต่างก็ได้วางเเผนออกแบบเรือในชั้นนี้ในแบบของตนเอง โดยออกแบบมาเพื่อใช้ต่อกรกับเรือลาตระเวนหนักโดยเฉพาะ
เรือลาดตระเวนประจัญบานลำเเรกของกองทัพเรือเนเธอร์แลนด์ คือ เรือลาดตระเวนประจัญบานแบบ 1047 (Design 1047) ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันอาณานิคมชาวดัตช์ในหมู่เกาะอินเดียตะวันออก ในการเผชิญกับการรุกรานของญี่ปุ่นในช่วงนั้น ไม่มีการกำหนดชื่ออย่างเป็นทางการ เรือแบบนี้ได้รับการออกแบบจากความช่วยเหลือจากประเทศเยอรมันและอิตาลี โดยของแบบของมันมีลักษณะคล้ายกับเรือลาดตระเวนประจัญบานในชั้นชานฮอร์สท์ (Scharnhorst class) ของกองทัพเรือเยอรมัน เเละใช้ปืนหลักแบบเดียวกัน ตัวเรือได้รับการหุ้มเกราะเบา สามารถป้องกันการถูกยิงจากปืนขนาด 8 นิ้วได้ แม้ว่าการออกแบบส่วนใหญ่เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อย โดยตัวเรือลำแรกได้รับกำหนดการปล่อยลงน้ำในช่วงเดือนมิถุนายนของปีนั้น เเต่ก็ไม่ได้รับการสร้างเนื่อจากเนเธอร์แลนด์ถูกเยอรมันรุกรานในเดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ.1940.
เรือชั้นก่อนหน้าของเรือลาดตระเวนประจัญบานมีเพียงชั้นเดียวเท่านั้นที่ถูกสร้างโดยกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาคือ เรือลาดตระเวนขนาดใหญ่ชั้นอลาสก้า (Alaska-class) มีสองลำที่ถูกสร้างเสร็จสมบูรณ์คือ อลาสก้า เเละ กวม ส่วนลำที่สาม ฮาวาย ได้ถูกยกเลิกขณะทำการสร้างเเละอีกสามลำสุดท้ายที่ไม่ได้รับการสร้างคือ ฟิลิปปินส์ เปอร์โตริโก เเละ ซามัว ถูกยกเลิกก่อนที่จะถูกปล่อยลงน้ำ โดยเรือชั้นอลาสก้าได้ถูกจัดประเภทเป็นเรือลาดตระเวนขนาดใหญ่ เเทนประเภทเรือลาดตระเวนประจัญบาน เเละสถานะของเรือถูกจัดเป็นไม่ใช่เรือหลัก สังเกตุได้จากชื่อ โดยจะตั้งชื่อตามดินแดนในอารักขาของสหรัฐอเมริกา ตัวเรือติดตั้งปืนหลักขนาด 12 นิ้ว 9 กระบอกในป้อมแบบเเฝดสาม มีระวางขับน้ำ 27,000 ตัน โดยเรือชั่นอลาสก้ามีขนาดใหญ่เป็นสองเท่าจากเรือลาดตระเวนชั้นบัลติมอร์ เเละมีปืนหลักขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่า 50% ตัวเรือไม่มีเกราะคาดลำเรือ (Belt armor) เเละระบบป้องกันตอร์ปิโดเหมือนเรือหลักลำอื่นๆ พวกมันถูกมองว่าเป็นการออกแบบที่สมดุล อ้างอิงจากมาตราฐานเรือลาดตระเวนโดยการป้องกันของมันสามารถต้านทานการยิงจากปืนขนาดเดียวกันได้แม้เพียงในมุมและระยะแคบๆเท่านั้น พวกมันถูกออกแบบมาเพื่อตามล่าเรือลาดตระเวนหนักของกองทัพเรือญี่ปุ่น แม้ว่าเวลาที่พวกมันเข้ามาประจำการ เรือลาดตระเวนหนักส่วนใหญ่ของญี่ปุ่นนั้นถูกจมโดยเครื่องบินเเละเรือดำน้ำ เช่นเดียวกับเรือประจัญบานเร็วในชั่นไอโอว่า (Iowa-class) พวกมันมีความเร็วที่สูง ในท้ายที่สุดพวกมันถูกนำไปใช้ในการคุ้มกันกองเรือบรรทุกเครื่องบิน ยิงถล่มชายฝั่ง มากกว่าการรบกันระหว่างเรือรบด้วยกันอย่างในแบบที่ผู้ออกเเบบอยากให้เป็น.
กองทัพเรือญี่ปุ่นได้เริ่มออกบบเรือลาดตระเวนขนาดใหญ่ในชั้นบี64 (B64-class) โดยมีขนาดไกล้เคียงกับเรือลาดตระเวนขนาดใหญ่ชั้นอลาสก้า เเต่ของญี่ปุ่นนั้นติดตั้งปืนหลักขนาด 12.2 นิ้ว ข่าวการออกแบบเรือในชั้นอลาสก้าของสหรัฐอเมริกา นั้นทำให้ญี่ปุ่นปรับปรุงการออกแบบของตนขึ้นมาใหม่คือเรือลาดตระเวนขนาดใหญ่แบบบี-65 (Design B-65) โดยตัวเรือนั้นติดตั้งปืนหลักขนาด 14 นิ้ว 6 กระบอกในป้อมแบบเเฝดสอง เรือลาดตระเวนขนาดใหญ่แบบบี-65 จะได้รับการติดตั้งระบบอาวุธดีที่สุดแบบใหม่ของเรือลาดตระเวนประจัญบานเเละพวกมันมีการป้องกันที่เพียงพอที่จะป้องกันกระสุนปืนขนาด 8 นิ้วได้ เหมือนของเรือลาดตระเวนขนาดใหญ่ของเนเธอร์แลนด์ กองทัพเรือญี่ปุ่นได้เสร็จสิ้นการออกแบบเรือลาดตระเวนขนาดใหญ่ในชั้นบี65 เเต่ไม่มีการปล่อยลงน้ำเเต่อย่างใด เนื่องจากมีความล่าช้าเเละการยอมจำนนของญี่ปุ่นทำให้เรือลาดตระเวนขนาดใหญ่แบบบี-65 ถูกยกเลิกทั้งหมด.
ในรูปคือ เรือลาดตระเวนขนาดใหญ่ชั้นอลาสก้า ยูเอสเอส กวม (ซีบี-2)
@Hata//


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น