Takao-class heavy cruisers (高雄型重巡洋艦)


เรือลาดตระเวนหนักชั้นทาคาโอะ (Takao-class Heavy cruiser) @Hata//

ทาคาโอะคือเรือลาดตระเวนหนักลำดับเเรกในชั้นทาคาโอะ ถูกใช้งานโดยกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นเรือลาดตระเวนที่ทันสมัยที่สุดในกองเรือญี่ปุ่น เรือเหล่านี้รวดเร็ว สมรรถภาพสูง และติดตั้งด้วยอาวุธหนัก เเละมีอำนาจการยิงมากพอที่จะต่อกรกับเรือลาดตระเวนลำอื่นๆในโลก เรือพี่น้องคือ อะตาโกะ มายะ เเละ โชไค

เรือลาดตระเวนหนักชั้นทาคาโอะถูกปรับปรุงของก่อนหน้าเรือลาดตระเวนหนักชั้นเมียวโค โดยผสมผสานองค์ประกอบทางเทคนิคที่ได้เรียนรู้กับการพัฒนาจากเรือลาดตระเวนเบายูบาริเเละแบบเเปลนจากเรือลาดตระเวนหนักชั้นเมียวโค. โดยมีความโดดเด่นด้วยรายละเอียดที่มีขนาดใหญ่. เรือลาดตระเวนหนักชั้นทาคาโอะมีเกราะที่หนา ปืนหลักวัตถุประสงค์คู่สำหรับใช้ต่อต้านอากาศยาน และท่อยิงตอร์ปิโดถูกย้ายไปอยู่บนดาดฟ้าเรือเพื่อความปลอดภัย

เรือลาดตระเวนหนักชั้นทาคาโอะมีระวางขับน้ำ 16,875 ตัน ,มีความยาว 203.8 เมตร , ความกว้าง 20.4 เมตร, กินน้ำลึก 6.32 เมตร เเละสามารถทำความเร็วได้ 35.25 น้อต. ส่งกำลังโดยหม้อน้ำ Kampon 12 ใบ ขับเคลื่อนเครื่องยนต์กังหันเทอร์ไบน์ 4 ชุดส่งกำลังไปยังเพลาขับ 4 เพลาหมุนใบพัดแบบ 3 ใบพัด เรือมีเกราะข้างเรือหนา 127มม. ดาดฟ้าเรือหนา 35มม. สะพานเรือหุ้มเเผ่นเกราะหนา 10 ถึง 16 มม.

เรือลาดตระเวนหนักทาคาโอะติดตั้งปืนหลักขนาด 20 ซม./ ขนาดลำกล้อง 50 (8 นิ้ว") แบบ 3rd Year ซึ่งเป็นอาวุธหนักที่สุดในบรรดาเรือลาดตระเวนหนักลำอื่นๆของโลกในเวลานั้น โดยติดตั้งจำนวน 10 กระบอก ป้อมละ 2 กระบอก จำนวน 5 ป้อม อาวุธรองคือปืนมุมสูงขนาด 12ซม. /ขนาดลำกล้อง 45 (4.7 นิ้ว) แบบ 10th Year ลำกล้องคู่ 4 ป้อมด้านข้างเรือ เเละท่อยิงตอร์ปิโดขนาด 61ซม. แบบ Type 90

ทาคาโอะขาดความสามารถในการต่อต้านอากาศยานอย่างมาก ในขณะนั้นมีปืนต่อต้านอากาศยานขนาด 40มม. เพียงเเค่ 2 กระบอก ทาคาโอะได้ถูกนำไปปรับปรุงเพื่อตอบโต้ภัยคุกคามของการโจมตีทางอากาศที่เพิ่มขึ้น โดยการปรับปรุงรอบสุดท้าย ทาคาโอะได้รับการติดตั้งปืนหลักขนาด 20 ซม./ ขนาดลำกล้อง 50 (8 นิ้ว") แบบ 3rd Year จำนวน 10 กระบอก 5 ป้อม ปืนต่อต้านอากาศยานขนาด 12.7ซม./ ขนาดลำกล้อง 40 (5 นิ้ว) แบบ Type 89 จำนวน 8 ป้อม ข้างละ 4 ป้อม เเละ ท่อยิงตอร์ปิโดขนาด 61ซม. แบบ Type 93 พร้อมทั้งการป้องกันการโจมตีของอากาศยาน โดยจะติดตั้งปืนต่อต้านอากาศ ขนาด 25มม. แบบ Type 96 จำนวน 24 ป้อม ป้อมละ 3 กระบอก ป้อมลำกล้องคู่อีก 12 ป้อม เเละป้อมลำกล้องเดี่ยวอีก 26 ป้อม เเละปืนกล 13.2มม. 4 กระบอก

- - - - - - -
ทาคาโอะได้เข้าร่วมในการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ เเละ สนับสนุนการยกพลขึ้นบกที่อ่าว Lingayen บริเวณเกาะ Luzon ประเทศฟิลิปปินส์

ในมิถุนายน ปี 1942 ทาคาโอะเเละมายะ เข้าร่วมในการสนับสนุนการรุกรานหมู่เกาะ Aleutian เพื่อคุ้มกันขบวนเรือที่เกาะ Kiska เเละ เข้าร่วมการยิงสนับสนุนในการยกพลขึ้นบกที่เกาะ Attu

ในสิงหาคม ปี 1942 ทาคาโอะ ได้รับมอบหมายใน ปฏิบัติการ Ka (Operation Ka) ญี่ปุ่นได้เสริมกำลังรบในสรภูมิที่เกาะ Guadalcanal. เเละได้ออกเดินทางไปที่เกาะ Hashira. กับ อาตาโกะเเละมายะ

ในวันที่ 24 สิงหาคม ทั้งหมดได้เข้าร่วมสมรภูมิทางทิศตะวันออกของหมู่เกาะโซโลมอน ( Battle of the Eastern Solomons ) จากระยะไกลและไม่มีการต่อสู้.

อย่างไรก็ตาม วันที่ 26 ตุลาคม ยุทธนาวีเกาะซานตาครูซ ( Battle of the Santa Cruz Islands ) เรือลาดตระเวนหนักชั่นทาคาโอะทั้งสามลำ พร้อมกับเรือลาดตระเวณหนักเมียวโค ,ฮากุโระ ได้เข้าร่วมศึกกลางคืน เป็นผลทำให้สามารถจมเรือบรรทุกเครื่องบิน ยูเอสเอส ฮอร์เน็ต (CV-8)

ซึ่งตามมาด้วยการพยายามเเย่งชิงสนามบิน Henderson Field ของสหรัฐคืน ซึ่งนำไปสู่ ยุทธนาวีหมู่เกาะ Guadalcanal ในเวลาต่อมา. ในช่วงเช้าวันที่ 15 พฤศจิกายน ปี 1942 เรือประจัญบานคิริชิมะที่สนับสนุนโดยเรือลาดตระเวนหนักทาคาโอะเเละอะตาโกะ ได้เข้าปะทะกับเรือประจัญบานสหรัฐ ยูเอสเอส วอชิงตัน เเละ ยูเอสเอส เซาท์ดาโคตา เรือรบญี่ปุ่นทั้งสามลำยิงถล่ม
ยูเอสเอสเซาท์ดาโคตา อย่างหนักจำนวนหลายครั้ง จนทำให้ระบบเรดาร์เเละระบบควบคุมการยิงเสียหาย

เรือลาดตระเวนหนักทาคาโอะเเละอะตาโกะได้ยิงตอร์ปิโดหอกยาวหรือตอร์ปิโดแบบ Type 93 ไปที่ เรือประจัญบาน ยูเอสเอส วอชิงตัน ทั้งหมดพลาดเป้า ต่อมาเรือประจัญบานคิริชิมะถูกเรือประจัญบาน ยูเอสเอส วอชิงตัน จมลงในเวลาไม่กี่ชั่วโมง. อะตาโกะได้รับความเสียหาย ส่วนทาคาโอะสามารถหนีออกมาได้โดยไม่ได้รับอันตราย เเต่ทั้งหมดถูกบังคับให้ต้องล่าถอยกลับไปที่ Truk Lagoon และจากนั้นก็กลับไปที่ฐานทัพเรือที่ Kure เพื่อซ่อมแซม เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนก่อนที่จะกลับไปที่ Truk Lagoon อีกครั้งในช่วงปลายเดือนธันวาคม.

ในช่วงต้นปี 1943 เรือลาดตระเวนหนักทาคาโอะได้สนับสนุนการอพยพกองกำลังญีปุ่นออกจากเกาะ Guadalcanal. กองกำลังนี้ประกอบไปด้วยเรือบรรทุกเครื่องบิน ซุยคาคุ, ซุยโฮ เเละ จุนโย, เรือประจัญบาน คองโก เเละ ฮารุนะ. เรือลาดตระเวนหนัก อะตาโกะ ทาคาโอะ เมียวโค เเละ ฮากุโระ. เรือลาดตระเวนเบา นาการะ เเละ อากาโนะ เเละ เรือพิฆาตอีก 11 ลำ การเคลื่อนย้ายทหาร 11,700 นายออกจากเกาะประสบความสำเร็จ

ภายใต้คำสั่งของกัปตัน Inoguchi Toshihira ให้เรือลาดตระเวนหนักทาคาโอะเข้าร่วมในยุทธการต่างๆในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลาง จากฐานที่ Truk Lagoon ทาคาโอะกลับไปที่ฐานทัพเรือที่ Yokosuka ในวันที่ 26 กรกฎาคม เพื่อติดตั้งปืนต่อต้านอากาศยานเพิ่มเติม. หลังจากที่กลับไป Truk Lagoon ในวันที่ 23 สิงหาคม ทาคาโอะได้เดินทางต่อไปที่ Rabaul ในวันที่ 27 สิงหาคม เพื่อนำทหารเเละอุปกรณ์ขึ้นฝั่ง.

เพื่อตอบสนองการโจมตีของเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐที่หมู่เกาะ Gilbert เรือลาดตระเวนหนักทาคาโอะกับกองเรือของ พลเรือโท Jisaburō Ozawa ได้เตรียมบุกเข้าปะทะกับเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐ กองเรือนี้ประกอบไปด้วย
เรือบรรทุกเครื่องบิน โชวคาคุ ซุยคาคุ เเละ ซุยโฮ เรือประจัญบาน ยามาโตะ เเละ นางาโตะ. เรือลาดตระเวนหนัก เมียวโค ฮากุโระ โทเนะ ชิคุมะ โมกามิ อะตาโกะ ทาคาโอะ โชไค เเละ มายะ. เรือลาดตระเวนเบาอากาโนะ เเละ เรือพิฆาตอีก 15 ลำ แม้จะมีการค้นหาในบริเวณกว้าง กองกำลังนี้ล้มเหลวในการค้นหากองกำลังโจมตีของสหรัฐ เเละต่อมาได้เดินทางกลับไป Truk Lagoon

เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน ปี 1943 เรือลาดตระเวนหนักทาคาโอะ ขณะที่เติมเชื้อเพลิงอยู่ที่ Rabaul ทาคาโอะถูกโจมตีจากเครื่องบินดำดิ่งทิ้งระเบิดแบบ SBD Dauntless จากเรือบรรทุกเครื่องบืน ยูเอสเอส ซาราโตกา.
ทาคาโอะถูกระเบิดจำนวนสองลูก ทำให้ลูกเรือบริเวณนั้นเสียชีวิตจำนวน 23 นาย เเละ การระเบิดส่งผลให้ส่วนควบคุมหางเสือเสียหาย

ทาคาโอะกลับไปที่ฐานทัพเรือที่ Yokosuka เพื่อซ่อมเเซมในอู่เเห้ง ในระหว่างการซ่อมแซม ทาคาโอะได้รับติดตั้งปืนต่อต้านอากาศยานเพิ่มเติม เเละเรดาร์อากาศแบบ Type 21 ซ่อมแซมไม่เสร็จสมบูรณ์ จนกระทั่งวันที่ 18 มกราคม ปี 1944

ทาคาโอะ ได้รับมอบหมายให้กับพลเรือโท Jisaburō Ozawa เข้าร่วมกองเรือที 1st Mobile Fleet จากฐานที่ Palau ตั้งแต่ 1 มีนาคม และถูกส่งไปประจำที่ Davao ประเทศฟิลิปปินส์ตอนใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ทาคาโอะ ถูกโจมตีโดยเรือดำน้ำสหรัฐ ยูเอสเอส Dace (SS-247) เมื่อวันที่ 6 เมษายน ตอปิโดทั้งหมดนั้นพลาดเป้า ในวันที่13 มิถุนายน ขณะทำการรบที่ทะเลฟิลิปปินส์ ( Battle of the Philippine Sea ) ทาคาโอะ เป็นส่วนหนึ่งของ กองเรือของ พลเรือโท Takeo Kurita ที่มาจากเกาะ Tawi Tawi ความพยายามเข้าโจมตีกองเรือที่ 5 ของสหรัฐ ในการสู้รบที่เเตกหักบริเวณเกาะไซปัน ฝ่ายสหรัฐเรียกมันว่า Great Mariana's Turkey Shoot เครื่องบินรบญี่ปุ่นได้เข้าโจมตีกองกำลังที่ 58 ของสหรัฐ บริเวณเกาะไซปันได้ประสบความสูญเสียหนัก.

ในวันที่ 26 มิถุนายน ทาคาโอะได้กลับไปที่ ฐานทัพเรือที่ Kure อีกครั้ง เพื่อ ติดตั้งปืนต่อต้านอากาศยานเพิ่มเติม เเละเรดาร์ค้นหาทางอากาศแบบ Type 13

ทาคาโอะ กลับไปที่ สิงคโปร์ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคมและเข้าร่วมในยุทธการต่างๆในสิงคโปรและบรูไนจนถึงกลางเดือนตุลาคม วันที่ 22 ตุลาคม ทาคาโอะ ได้รับมอบหมายให้กับ พลเรือเอก Kurita เป็นกองกำลังหลัก (Centre Force) สำหรับการรบที่อ่าว Leyte (Battle of Leyte Gulf)

หลังจากนั้น ในระหว่างการรบที่ Palawan Passage ในวันที่ 23 ตุลาคม ในขณะที่ ทาคาโอะกำลังแล่นผ่านเกาะ Palawan ได้ถูกโจมตีโดยตอร์ปิโด 2 ลูกจากเรือดำน้ำ ยูเอสเอส Darter ซึ่งทำให้เพลาเรือ 2 แท่งเสียหาย ดาดฟ้าท้ายเรือเสียหาย เเละ ห้องหม้อไอน้ำสามห้องถูกน้ำท่วม อะตาโกะเเละมายะ ทั้งสองลำจมลงในการโจมตีครั้งนี้ ทาคาโอะเเล่นกลับฐานที่บรูไน คุ้มกันโดยเรือพิฆาต นากานามิ เเละ อาซาชิโมะ เรือตอร์ปิโด ฮิโยโดริ เเละ เรือขนส่ง มิทซึมารุ เเละ ถึงสิงคโปร์ในวันที่ 12 พฤศจิกายน

ที่ประเทศสิงคโปร์ ทาคาโอะได้รับการประเมินว่าได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก การพิจารณาในการส่งทาคะโอะกลับไปซ่อมแซมอย่างเต็มรูปแบบที่ประเทศญี่ปุ่นโดยเร็วนั้นเป็นไปไม่ได้. ทาคาโอะถูกทำให้จอดนิ่งติดกับซากเรือของเรือลาดตระเวนหนักเมียวโค เพื่อเป็นป้อมปืนต่อต้านอากาศยานลอยน้ำเพื่อป้องกันฐานทัพเรือที่ Seletar.

กองทัพเรืออังกฤษเริ่มปฏิบัติการ Struggle เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม ปี 1945 โดยใช้เรือดำน้ำขนาดเล็ก HMS XE3 บัญชาการโดย เรือโท Ian Edward Fraser เเละ พลทหาร James Joseph Magennis เพื่อพยายามที่จะจมเรือทั้งสองลำนั่น.

พลทหาร Magennis ได้ติดกับระเบิดแบบ limpet จำนวน 6 ลูกที่ท้องเรือของทาคาโอะ เมื่อกับระเบิดได้ระเบิดขึ้น ทำให้เกิดรูขนาด 20เมตร เเรงระเบิดทำให้ป้อมปืนบางส่วนใช้การไม่ได้ กล้องวัดระยะถูกทำลายเเละทำให้เกิดน้ำท่วมในบางห้อง เเต่ไม่สามารถทำให้เรือจมลงได้. Fraser เเละ Magennis ได้รับเหรียญ Victoria Cross จากการกระทำครั้งนั้น.

ต่อมาญี่ปุ่นได้ยอมเเพ้ต่ออังกฤษที่ฐานทัพเรือ Seletar เมื่อวันที่ 21 กันยายน 1945. เรือลาดตระเวนหนักทาคาโอะได้ถูกลากไปที่ช่องแคบมะละกา เพื่อเป็นเป้าซ้อมยิงเเละได้จมลงในวันที่ 19 ตุลาคม ปี 1946 โดยเรือ HMS Newfoundland . ทาคาโอะ ถูกลบออกจากรายชื่อกองทัพเรือในวันที่ 3 พฤษภาคม ปี 1947.

เพิ่มเติม https://en.wikipedia.org/wiki/Japanese_cruiser_Takao_(1930)

@Hata// ผิดพลาดตรงไหน ขออภัยด้วยนะครับ

เรือลาดตระเวนหนักทาคาโอะ ขณะทำการเเล้วทดสอบด้วยความเร็วสูงสุด ที่ทาเทยามะ ในช่วงของปีค.ศ.1932












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น